parallax background
 

R I P Creative Drama
ละครสร้างสรรค์สู่สุขคติ

ผู้เขียน: มัณฑนา บรรณาธรรม หมวด: อาสามีเรื่องเล่า


 

“สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านสู่ DIE STATION กับยานแม่ WE ADVENTURE ที่จะพาทุกท่านท่องไปใน UNIVERS OF LIFE โปรดตรวจสอบสัมภาระที่จะนำติดตัวไปด้วย และเพื่อความปลอดภัยกรุณารัดเข็มขัดด้วย มิฉะนั้นจะถูกปรับห้าพัน .... เมื่อทุกท่านพร้อมแล้วออกเดินทางได้

สิ้นเสียงกัปตันสาวน้อย ยานแม่ก็ทะยานเข้าสู่ห้วงจิตนาการพาผู้ชมย้อนเวลาไปกับนิทานในวัยเยาว์ จากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่อง เรื่องแล้วเรื่องเล่าไหลลื่นไปไม่รู้กี่เรื่องต่อกี่เรื่อง ด้วยเทคนิคขั้นสุดแบบที่ใช้ในหนัง Transformer ที่สามารถเปลี่ยนรถยนต์ให้กลายเป็นหุ่นยนต์ที่โต้ตอบได้ แต่ก็มิสามารถเปลี่ยนเป็นมนุษย์ได้ แต่ของเราล้ำกว่ามากสามารถเปลี่ยนร่างแปลงกายจากยานแม่ให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นป่าใหญ่ เป็นบ้านน้อยริมธาร หรือจะเป็น หมาป่าเจ้าเล่ห์ เสือร้าย อีกทั้ง เจ้าชาย-เจ้าหญิง แม่มดใจร้าย ชายชรา หรือว่าเด็กทารก ก็สามารถเป็นทุกอย่างได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมแต่อย่างใด มีเพียงร่างกายเล็กๆที่เปี่ยมด้วยจินตนาการและความเชื่อล้วนๆ หากผ่านการฝึกฝนเคี่ยวกรำอย่างหนักจนสามารถสร้างสรรค์การแสดงที่เรียบง่าย ใสซื่อ หากแต่ทรงพลังถ่ายทอดสารที่นักแสดงต้องการสื่อถึงผู้ชมได้เป็นอย่างดี

ยิ่งไปกว่านั้นละครยังสามารถพาผู้ชมไปสู่มิติที่ลึกกว่าตาเห็นอีกด้วย อะไรจะขนาดนั้น

เมื่อเจอตัวผู้กำกับพี่กิต กิตติศักดิ์ แซ่หล่อ กลุ่มละคร DOIT อย่างไม่ทันให้ตั้งตัวเรายิงคำถามใส่ทันที่ว่าอะไรที่ทำให้เด็กน้อยวัยประถมเกือบสิบชีวิตได้เข้าใจและถ่ายทอดเรื่องราวความตายได้ชัดเจนขนาดนี้ เขาอธิบายว่า เขาใช้ Creative Drama ที่ให้ความสำคัญกับ Process หรือกระบวนการ มากกว่า Product คือผลลัทธ์ เมื่อใส่ Processให้กับเด็กๆ เมื่อ Processเริ่มทำงานแล้วให้โจทย์ เขาก็จะสร้างสรรค์ Product ที่ดีออกมาได้ เราทำหน้างงๆ กับ Product และ Process พี่เบิร์ด นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ คิดแจ่ม แอบได้ยินเราคุยกันแล้วเกิดอาการคันปากก็เลยชวนให้เข้าไปเรียนรู้กระบวนการที่ว่านี้กับผู้ชมมากหน้าหลายตามีทั้งนักศึกษา พ่อแม่ แพทย์ นักการละครและผู้สนใจทั้งชาวไทยและต่างชาติ

พี่เบิร์ด ชวนพวกเราคุยถึงที่มาที่ไปว่า R I P Creative Drama ละครสร้างสรรค์สู่สุขคติ เป็นความร่วมมือของภาคีต่างๆคือ DOIT ร่วมกับคิดแจ่มและน้องๆจากสันติอโศก โดยความสนับสนุนของโครงการความตายพูดได้โดยเครือข่ายพุทธิกา คุยไปสักพักคงแอบเห็นหลายคนนั่งบิดไปมาพี่เบิร์ดเลยชวนยืดเส้นยืดสายเล่มเกมส์เรียกเสียงหัวเราะพอผ่อนคลาย ต่อด้วยจับคู่วาดภาพโดยไม่ยกปากกาแล้วแลกภาพกันดูพอมีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเล็กๆกับฝีมือของตน จากนั้นให้ทำปฎิมากรรมชีวิตด้วยกระดาษ A4 แผ่นเดียว ทุกคนก็ตั้งหน้าตั้งตาทำบ้างก็พับเป็นระเบียบแบบแผน บ้างก็ขยำขยี้ไร้รูปแบบ หรือ ฉีกๆม้วนๆ แล้วแต่จินตนาการของแต่ละคน พอเสร็จก็จับกลุ่มเล่าชิ้นงานของตนแลกเปลี่ยนกัน 4-5 คน แล้วทุกคนก็ต้องออกแบบท่าจากปฏิมากรรมของตนด้วย บางคนก็งงว่าจะทำยังไงจากกระดาษยู่ยี่ๆให้เป็นท่าทาง ลองนั่ง นอน ไม่ก็กลิ้งไปมา โบกไม้โบกมือ โยกย้ายไปมา แต่ก็ทำออกมาได้ในที่สุด แต่แค่นั้นยังไม่หนำใจพี่เบิร์ด นางยังมีคำสั่งที่พีคสุดๆคือให้รวมทุกปฏิมากรรมให้เป็นชิ้นเดียว โอ้ว...มีความชุลมุนระดับสิบเลยทีเดียว

ความคิดและความสนุกทำให้แต่ละกลุ่มได้ผลงานสุดสร้างสรรค์หนึ่งเดียวในสามโลกก็ว่าได้

กว่าจะรู้ตัวพวกเราก็ได้เข้าสู่กระบวนการ Creative Drama เรียบร้อยแล้ว พี่เบิร์ดเนียนจริงๆจนน้องๆนักศึกษาถึงกับออกปากชม

แม้แต่ชาวต่างชาติอย่าง Marcus Tristan หนุ่มใหญ่ของเราก็ยังสนุกและประทับใจกับกระบวนการนี้ เขาบอกว่า “A very stimulating and interesting workshop-fascinating how much variety was apparent when people were asked to express their lives with a sculpture made from a piece of paper. I imagine that with 1000 people there would be a 1000 different sculptures. A very interesting idea then to combine them together in small groups. I shall remember that part for a long time, I imagine. Thank you.

ส่วนผู้ชมสายแข็งที่ผ่านเวิร์คชอปความตายมาแล้วถึงกับออกปากว่า “ผิดคาดจากที่เคยเข้ากิจกรรมความตายที่เคยเข้าร่วม อันนั้นอาจจะทำให้เราตึงเครียดนิด ๆ แต่กิจกรรมนี้ทำให้รู้สึกถ้าตายด้วยความรู้สึกเบา ๆ แบบนี้ สุดท้ายขอบคุณสำหรับกิจกรรม เปิดมุมมองให้กับชีวิต เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ๆ ขอบคุณมาก ๆ ตายอย่างมีรอยยิ้ม การได้เห็นความสารถของเด็ก ๆ คือความรู้สึกดี ๆ เพราะตอนเด็ก ๆ ตัวเองคิดว่ากิจกรรมแบบนี้ไร้สาระ แต่จริง ๆ แล้วมันคือการให้ความบันเทิง ความสุขแก่ผุ้อื่นมาก ๆ” และสำหรับ อ.เหมียว (พญ วนิดา ปิยะศิลป์) แห่งโรงพยาบาลเด็ก บอกกว่า “ภูมิใจแทนที่พี่ ๆที่ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จักตนเอง, ดีใจที่เด็ก ๆ ได้แสดงความรู้สึก ความคิด ออกมาอย่างสร้างสรรค์, เข้าใจและเห็นว่าเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้และยอมรับกับสิ่งที่ยาก โดยเฉพาะเรื่องของความตายได้ดี เรียบง่าย (กว่าผู้ใหญ่), ขอบคุณทีมงานเบื้องหลังที่ทำให้เด็กพบกับความสำเร็จขั้นหนึ่งของชีวิต พร้อมกับความเข้าใจชีวิตค่ะ”

ในมุมของครอบพ่อแม่ก็พบว่า “เป็นกิจกรรมที่ดี น่ารัก รู้สึกถึงความอบอุ่น ไม่มีช่องว่างระหว่างวัย ไม่คิดว่าวัยอย่างเราจะมีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมสนุก ๆ แบบนี้ ความตายไม่น่ากลัวอย่างที่คิด จะให้ดีคือจะตายอย่างสนุกได้อย่างไร?

และแล้วก็ได้เวลาที่ยานแม่ต้องวนกลับมาที่ DIE STATION อีกครั้งเพื่อรับผู้โดยสารรอบต่อไป กัปตันสาวน้อยคนเดิมประกาศว่า “ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ DIE STATION กับยานแม่ WE ADVENTURE ที่จะพาทุกท่านท่องไปใน UNIVERS OF LIFE โปรดตรวจสอบทรัพย์สินที่จะนำติดตัวไปด้วยให้พร้อม และกรุณารัดเข็มขัดนิรภัยมิฉนั้นจะถูกปรับห้าพัน ส่วนที่เหลือไม่ต้องเสียใจ เราจะวนมารับอีกครั้ง เมื่อถึงเวลา ไม่ว่าคุณจะพร้อมหรือไม่ สวัสดี R I P Creative Drama ละครสร้างสรรค์สู่สุขคติ

[seed_social]
19 เมษายน, 2561

The Fault in Our Stars ดาวบันดาล

พระเอกและนางเอกต่างเป็นวัยรุ่นอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แต่โชคชะตาก็เล่นงานพวกเขาสาหัสเอาการ ทั้งสองต่างมีระเบิดเวลาภายในคือ เชื้อมะเร็งอยู่ในตัวทั้งคู่ นางเอกอาจจะร้ายแรงกว่าเพราะมะเร็งปอดพร้อมจะกำเริบและพรากชีวิตของเธอไปได้ตลอดเวลา
9 สิงหาคม, 2561

กลับสู่ธรรมชาติแห่งกรุณา: เก็บข้อคิดจากบทสนทนาของ อ.ประมวล เพ็งจันทร์

เช้าวันที่อากาศแจ่มใส หัวใจเบิกบาน ฉันเตรียมกายใจเพื่อพาตัวเองไปร่วมวงสนทนากับเพื่อนมิตร และ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ ครูทางจิตวิญญาณ ที่เรามักได้รับความชุ่มเย็นทางใจกลับไปเสมอ
22 กันยายน, 2560

ความตายไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ความกลัวตายเป็นความรู้สึกร่วมอย่างหนึ่งของมนุษย์ เรากลัวความเจ็บปวดทุกข์ทรมานและกังวลว่าจะต้องเผชิญกับวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างโดดเดี่ยว