parallax background
 

ตายก่อนพร้อม หรือ พร้อมก่อนตาย อันไหนดีกว่ากัน?

ผู้เขียน: มิตรสหายท่านหนึ่ง หมวด: อาสามีเรื่องเล่า


 

ลองตอบคำถาม 2 ข้อต่อไปนี้ ใช้แวบแรก ไม่คิดเยอะ ไม่คิดนาน...

1.อะไรคือสิ่งสำคัญที่คุณต้องบรรลุหรือทำให้สำเร็จก่อนตาย
ตอบ...........................................................

2.ชีวิตในช่วงนี้คุณให้เวลากับกิจกรรมใดมากที่สุด
ตอบ...........................................................

...ติ๊กต๊อก......คิดอะไรออก แวบแรก เขียนคำตอบเลย......อืม ไม่มีถูก ไม่มีผิดจริงๆ นะ...

คำถาม 2 ข้อข้างต้น เป็นหนึ่งในกิจกรรม "วาดความตาย ออกแบบชีวิต และ Art of living and Dying" จัดโดยเครือพุทธิการ่วมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561

นี่เป็นเพียงตัวอย่างสั้นๆ ของการตอบคำถาม 10 ข้อ จาก "เกมไพ่ไขชีวิต" ในกิจกรรม "วาดความตาย ออกแบบชีวิต” ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่แฝงเข้ามาในกิจกรรมต่างๆ เช่น การฟังอย่างลึกซึ้ง การฟังเพื่อนตรงหน้าอย่างไม่ตัดสิน การเรียนรู้เรื่องความกลัว ผ่านกิจกรรมคู่ ตลอดจนการเข้าไปสวมบทบาทของผู้ดูแลและผู้ได้รับการดูแล และอื่นๆ ที่กระบวนกรให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ทำและเข้าใจด้วยตนเอง พร้อมชวนสนทนาแลกเปลี่ยนกันในทุกกิจกรรม

ตายก่อนพร้อม หรือ พร้อมก่อนตาย อันไหนดีกว่ากัน?

วาดภาพ "ความตาย" ในความคิดของเรา (ไม่มีถูก ไม่มีผิด เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลาย จากความไม่รู้ เพราะยังไม่ได้ตาย) และตอบคำถามเตรียมตัว เตรียมพร้อมกับเรื่องต่างๆ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ทรัพย์สิน
  2. ความสัมพันธ์
  3. หน้าที่การงาน
  4. ชีวิตและร่างกาย

เพื่อ "ออกแบบชีวิต" ให้ได้เห็นภาพรวมๆ ทั้งหมดในการวางแผนชีวิตได้ว่า ในแต่ละวัน แต่ละเวลา เราให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากไปหรือน้อยไป จะจัดการอย่างไร อะไรที่ขาดหรือหลงลืม แล้วจะทำอย่างไรให้ชีวิตอยู่ตรงกลาง แบบที่เราเข้าใจ ไม่ใช่กำหนดให้มันเป็นไปในแบบที่เราไม่ได้เตรียมพร้อมหรือเคยกลับมาสังเกตทบทวนมัน

ช่วงบ่ายผ่านการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการสอนการใช้ "สมุดเบาใจ"

สมุดเบาใจฉบับนี้คือรูปแบบหนึ่งของเอกสารแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับ สุขภาพช่วงสุดท้าย และการตายดี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Advance Directive หรือ Living will ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 สมุดเบาใจเป็นเครื่องมือช่วยสํารวจความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เมื่อเราเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งยังช่วยวางแผนและสื่อสารความต้องการของเราให้ครอบครัวและทีมสุขภาพได้รับรู้ ในกรณีที่ท่านประสบภาวะวิกฤตในช่วงสุดท้าย อีกทั้งยังช่วยลดข้อขัดแย้งในหมู่ญาติและทีมแพทย์ผู้ให้การรักษาดูแลอีกด้วย

สมุดเบาใจจะให้ความรู้ในประเด็นการดูแลสุขภาพช่วงสุดท้ายและวางแผนการดูแลรักษาล่วงหน้า การดูแลความสุขสบาย การเลือกผู้แทนการตัดสินใจด้านสุขภาพ การจัดการร่างกายและงานศพ

ช่วงท้ายๆ ทางทีมงานเปิดคลิปหนึ่ง ชื่อ "ของขวัญชิ้นสุดท้าย" ที่อยากจะให้คนที่คุณรักก่อนตาย คืออะไร? ซึ้งน้ำตาไหลเลยเราเรื่องราวของ 3 ครอบครัวที่กำลังจะสูญเสียคนที่เขารักอะไรจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ญาติๆอยากจะมอบเพื่อเป็นของขวัญวัน Happy Deathday... อยากให้ทุกคนได้ดูและใคร่ครวญเรื่องเหล่านี้กับตัวเอง คลิกดูที่นี่เลยจ้า

https://www.facebook.com/happydeathdayproject/videos/2057726877572381/?hc_ref=ARRZNrE2hlKQKROiQ3AjLEBMAvcTGtQTaAOUVq-7xnNWKCWWCDztKd3jHPEc2JB2eqI&pnref=story

หรือถ้าอยากโหลดสมุดเบาใจเก็บไว้ก็คลิกดูที่นี่ได้เช่นกัน
http://peacefuldeath.co/wp-content/uploads/2018/02/สมุดเบาใจBig.pdf

ขอบคุณทีมงานทุกคน เพื่อนๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และผู้เกี่ยวข้องทุกคนค่ะ ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างดีสำหรับการใคร่ครวญและเตรียมพร้อมตัวเองและคนใกล้ตัวเรื่องนี้ เมื่อวานกลับมาถึงบ้าน เล่น "เกมไพ่ไขชีวิต" คิดว่าเป็นกิจกรรมครอบครัวที่ชวนพูดคุยลงลึกได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อยากให้ทุกคนได้ลองร่วมกิจกรรมดีๆ แบบนี้ หรือใช้เครื่องมือของเครือข่ายพุทธิกาที่ออกแบบเป็นตัวช่วย ชวนพูดคุยเรื่องความตายได้ง่ายๆ สนุกๆ และเตรียมพร้อมก่อนตายกันค่ะ

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม

  • เครือข่ายพุทธิกา http://peacefuldeath.co/
  • ชีวามิตร www.cheevamitr.com/
  • สมุดเบาใจ สามารถดาวน์โหลดฟรี หรือ สั่งซื้อเป็นเล่มได้ที่ http://peacefuldeath.co/baojai/
  • เพลงเบาใจ https://www.youtube.com/watch?v=kC4T7rsvfkc

#Peaceful Death
#เครือข่ายพุทธิกา
#ชีวามิตร

[seed_social]
17 ตุลาคม, 2560

หรือชีวิตมีสิ่งที่มากกว่าความสุข

ผู้คนต่างพูดว่าความสำเร็จนำมาซึ่งความสุข แต่ฉันพบว่าแม้จะมีงานดีๆ แฟนที่น่ารัก มีอพาร์ตเมนต์ที่สวยงาม แต่ในที่สุดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็ไม่ช่วยให้ความสุขนัก หากยังรู้สึกกังวลและเคว้งคว้าง ฉันไม่ได้รู้สึกเช่นนี้เพียงลำพัง
4 เมษายน, 2561

การสร้างสังฆะแห่งการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย

สังคมไทยในอดีต พระสงฆ์และชุมชนมีความใกล้ชิดและพึ่งพาอาศัยกันมาโดยตลอด โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ทำหน้าที่ไม่เฉพาะในการเผยแผ่หลักธรรมะเท่านั้น หากยังเป็นแหล่งศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ อีกด้วย
19 เมษายน, 2561

การให้อภัยผู้อื่น เพื่อลดปัญหาทางกายหรืออาการปวดของตนเอง

บางทีเราเจอผู้ป่วยที่มีปัญหาคาใจเรื่องการให้อภัย แล้วคนที่เป็นพยาบาลมีเวลาเจอกับผู้ป่วยไม่มาก จะมีเทคนิคง่ายๆ ที่พระคุณเจ้าจะให้คำแนะนำในเรื่องการให้อภัยผู้อื่นเพื่อลดปัญหาทางกายหรือว่าอาการปวดที่ตัวเองมีอย่างไรดี