parallax background
 

มหัศจรรย์หนังสือบิน
ของนายมอริส เลสมอร์

ผู้เขียน: เอกภพ สิทธิวรรณธนะ หมวด: รีวิวสุนทรียะในความตาย


 

พ่อแม่หลายคนรู้สึกลำบากใจเมื่อต้องพูดเรื่องความตายกับเด็กๆ สำหรับหลายคนแล้ว ความตายเป็นเรื่องที่ยากจะสื่อสารกับเด็ก เด็กเล็กอาจไม่เข้าใจความตายเลย เด็กโตขึ้นอาจเข้าใจความตายได้ แต่พ่อแม่ต้องรู้วิธีอธิบายด้วยภาษาของเด็ก ความยากดังกล่าวทำให้บางครอบครัวปล่อยให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องความตายจากในโรงเรียน หรือไม่ก็ปล่อยให้เด็กโตพอที่จะเข้าใจได้ด้วยตนเอง

แต่สำหรับบางครอบครัว เป็นไปได้ที่เด็กเล็กจะเผชิญการจากไปของคนใกล้ชิด ดังนั้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องพูดอธิบายว่าความตายคืออะไร หลายกรณี การหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงความตายอาจสร้างความลำบากใจทั้งแก่พ่อแม่และตัวเด็ก

ดังนั้นการใช้สื่อประกอบการอธิบาย อาจช่วยให้เด็กๆ เข้าใจความตายได้ง่ายขึ้น สื่อประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องความตายและการพลัดพรากได้อย่างมากคือนิทานภาพ

มหัศจรรย์หนังสือบินของนายมอริส เลสมอร์ คือหนังสือนิทานภาพเล่มหนึ่งที่พูดถึงการผจญภัยของนายมอริส ชายผู้ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาถูกภัยธรรมชาติบีบบังคับให้ออกเดินทาง มอริสได้รับการช่วยเหลือจากบรรดาหนังสือที่อ่อนโยนและแสนอัศจรรย์

นิทานภาพเรื่องนี้ยังพูดถึงการตายและการพลัดพรากในแง่มุมที่งดงามและเปี่ยมจินตนาการ ผู้เขียนเปรียบเทียบการตายว่าเป็นการเดินทางที่มีสีสันและน่าสนุก หากผู้จากไปพร้อมที่จะตาย มันก็ง่ายและแสนธรรมดาเทียบเท่ากันการก้าวเดินไปที่ประตูบ้าน หันกลับมายิ้มและโบกมือลาผู้อยู่เบื้องหลังเพียงเท่านั้น

ผู้เขียนยังสื่อสารว่า การตายไม่ใช่จุดสิ้นสุด ผู้จากไปย่อมทิ้งสิ่งสืบทอดไว้เป็นมรดกเสมอ สำหรับนิทานภาพเล่มนี้ ผู้เขียนเปรียบชีวิตของผู้ตายว่าเหมือนหนังสือเล่มหนึ่งที่บรรจงเขียนขึ้นเพื่อคนรุ่นต่อไป หนังสือซึ่งเป็นตัวแทนของความรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ และความงดงามที่ชีวิตมอบให้

นอกจากนิทานภาพเล่มนี้จะพูดถึงความตายในมุมที่น่าสนใจแล้ว ยังสนับสนุนให้เด็กๆ รักการอ่านและการเขียนบันทึก ภาพประกอบในนิทานจึงเต็มไปด้วยหนังสือสวยงามประดามี ทุกเล่มน่าหยิบจับ มีชีวิตชีวาและพร้อมจะเป็นเพื่อนกับผู้อ่าน ภาพเหล่านี้น่าจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกดีกับหนังสือและการอ่าน รวมถึงการแบ่งปันหนังสือให้แก่ผู้อื่น

การประพันธ์ มหัศจรรย์หนังสือบินของนายมอริส เลสมอร์ ได้รับแรงบันดาลใจจากภัยพิบัติเฮอร์ริเคนแคทลีน่าเมื่อปี พ.ศ. 2548 และการจากไปของภรรยาของผู้ประพันธ์ วิลเลียม จอยซ์ ภาพประกอบที่สวยงามตระการตา วาดโดย โจเซฟ บลูห์ม และแปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ จัดพิมพ์โดยมูลนิธิเอสซีจี

เป็นหนังสือภาพเล่มหนึ่งที่ Peaceful Death สนับสนุนให้ครอบครัวมีติดบ้านไว้สักเล่ม

[seed_social]
1 ตุลาคม, 2561

ถอดบทเรียนชุมชนกรุณาผ่านวรรณกรรม The Perks of Being a Wallflowers : เวทีชีวิตและการเติมเต็ม

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยรอยต่อของเด็กและผู้ใหญ่ จากช่วงวัยเด็กที่อยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ ผู้ปกครอง พวกเขามีหน้าที่เชื่อฟังเรียนรู้บทเรียนต่างๆ ภายใต้การดูแลโอบอุ้มของผู้ใหญ่ ช่วงวัยรุ่นก็เป็นช่วงวัยที่พวกเขาก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่าน
25 พฤษภาคม, 2561

ชีวิต . ความกลัว . ลมหายใจ

ในวันที่อากาศร้อนๆ และมีฟ้าใสๆ เป็นช่วงที่เหมาะกับการพักร้อนและไปทะเล เราเลือกกิจกรรมหนึ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน คือการเรียนดำน้ำลึก หรือ Scuba Diving โลกใต้น้ำที่มีสิ่งมีชีวิตแปลกตา และมีสีสันมากมาย ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น แต่ในขณะเดียวกัน...
25 เมษายน, 2561

โตเกียว 8.0 วันโลกแตก (Tokyo Magnitude 8.0)

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล ทำให้นึกถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายๆ แห่ง ล่าสุดคือสึนามิที่ญี่ปุ่น ท่ามกลางความเลวร้ายของภัยพิบัติแผ่นดินไหว สึนามิ และต่อเนื่องด้วยปัญหากัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รั่วไหล