parallax background
 

เราควรจะบอกหรือไม่ เกี่ยวกับความจริงของอาการป่วย

ผู้เขียน: พระไพศาล วิสาโล และคณะ หมวด: ประสบการณ์ชีวิต


 

คำถาม : เราควรจะบอกหรือไม่ เกี่ยวกับความจริงของอาการป่วย

พระไพศาล วิสาโล : ในสังคมตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิผู้ป่วย การบอกถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ แต่สังคมตะวันออกเรามักต้องดูคนรอบข้างด้วย ขอเสนอว่า เราต้องทำไปพร้อมกันทั้งกับญาติและคนไข้ แต่ถ้าต้องเลือก เรามักจะยึดคนไข้เป็นหลักก่อน ดูปฏิกิริยา คอยประเมินว่าทั้งคนไข้และญาติมีปฏิกิริยาอย่างไร สิ่งที่ญาติห่วงกังวลถ้าบอกความจริงคืออะไร การบอกต้องทำด้วยระมัดระวัง ปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ญาติมักคิดไปล่วงหน้า ห่วงว่าถ้าคนไข้รู้ความจริงอาการจะยิ่งทรุดหนัก ซึ่งส่วนใหญ่เราพบว่าคนไข้จะรู้ความจริงได้เองในที่สุด ทั้งจากปฏิกิริยาคนรอบข้าง สีหน้าท่าทางของญาติ อาการที่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือ แนวทางการรักษาบางอย่าง เช่น ให้เคมีบำบัด หรือ ฉายแสง เป็นต้น เพียงแต่จะพูดหรือไม่เท่านั้น การปิดบังกลับยิ่งทำให้บรรยากาศอึดอัดด้วยกันทั้งสามฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้ให้การรักษา คนไข้ และญาติ

ดังนั้น การบอกความจริงถ้าสามารถก่อประโยชน์ต่อคนไข้ก็น่าจะบอกเพราะคนไข้จะได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจและมีแนวทางว่าจะจัดการกับชีวิตที่เหลืออยู่อย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตดีที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคนไข้ด้วย หลักๆ ก็คือ เป็นประโยชน์ ถูกกาลเวลา และด้วยจิตที่เมตตา ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญจึงไม่ใช่แค่การบอกให้รู้ แต่ต้องรู้ว่าจะบอกอย่างไรและจะดูแลประคับประคองหลังการบอกอย่างไร ไม่ใช่สักแต่ว่าบอกๆไปตามหน้าที่ เรื่องร้ายไม่จำเป็นต้องบอกอย่างร้าย ไม่ใช่การบอกทางโทรศัพท์แล้ววางหู แต่ต้องคิดต่อว่าบอกไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้น และจะทำอย่างไรด้วย โดยการบอกอาจจะค่อย ๆ บอก ทีละนิด แล้วสังเกตว่าคนไข้มีท่าทีอย่างไร หรืออาจถามคนไข้ว่าเขารู้สึกอย่างไรบ้าง เพื่อให้คนไข้ได้มีโอกาสระบายความรู้สึก แล้วจึงค่อยๆ ปลอบโยน ให้ความมั่นใจว่าเขาไม่ได้เผชิญปัญหานี้เพียงลำพัง ทุกคนพร้อมจะเป็นกำลังใจและสนับสนุนเขาอย่างไรบ้าง

มีตัวอย่างหนึ่ง คนไข้เหมือนจะรู้ตัวว่าเป็นอะไร แต่ไม่ยอมรับ ญาติเองก็รู้ความจริงจากหมอแต่ขอให้ปิดบังไว้ คนไข้ก็มักจะบอกญาติว่าตัวเองจะหายแน่นอน เมื่อสภาพร่างกายแย่มากขึ้นเรื่อยๆ ญาติก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ต้องทุกข์ทรมานใจทั้งสองฝ่าย

[seed_social]
25 เมษายน, 2561

คัลลานิช นิเวศบำบัดเพื่อการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง

ประเทศแคนาดาได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) และมีฮอสพิซ (Hospice) ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นระบบ ทว่ายังมีความพยายามค้นหาวิธีการดูแลเยียวยาผู้ป่วยถึงด้านในของจิตใจ
13 เมษายน, 2561

กระบวนการถอดบทเรียน เติมเต็มการทำงานเป็นทีม

หัวใจสำคัญอีกเรื่องหนึ่งต่อการทำงานเป็นทีม คือ การถอดบทเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้การทำงานระหว่างบุคลากรในทีม
6 กุมภาพันธ์, 2561

ทำศพแบบคนรักโลก…ทำให้เป็นของเหลว

กระบวนการอัลคาไลน์ (Alkaline Hydrolysis) จะใช้สารเคมีอัลคาไลน์ ความร้อน 152 องศาเซลเซียส และความดันทำให้ร่างย่อยสลายกลายเป็นของเหลวภายใน 3 ชั่วโมง เหลือเพียงฟัน กระดูก และวัสดุแปลกปลอม