parallax background
 

การประชุม APHC 2015

ผู้เขียน: กองสาราณียกร หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

อีกครั้งที่นักวิชาการ บุคลากรสุขภาพ และอาสาสมัครนานาประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มาร่วมตัวกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Hospice care หรือ Palliative care) ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ระหว่างวันที่ ๓๐ เมษายน - ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘

การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า ๑,๓๐๐ คน แลกเปลี่ยนความรู้การดูแลในหลากหลายหัวข้อ เช่น การดูแลความปวด การสื่อสาร การใช้ยา การดูแลผู้ป่วยเด็ก การสร้างมาตรฐานวิชาชีพ การศึกษาวิจัยและฝึกอบรม การผลักดันนโยบาย การจัดการระบบอาสาสมัคร แง่มุมทางจริยธรรม และการดูแลด้านจิตวิญญาณ

นอกจากการบรรยายให้ความรู้แล้ว ยังมีการจัดฉายภาพยนตร์ เวิร์คช็อป และการนำเสนอโปสเตอร์วิชาการกว่า ๕๐๐ ชิ้น ผู้เข้าร่วมประชุมบางส่วนได้เยี่ยมชมการทำงานของสถานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในไต้หวันทั้งสี่แห่ง เราจึงได้เห็นระบบบริการสุขภาพที่ให้ความใส่ใจคุณภาพชีวิตในช่วงท้ายอย่างแจ่มชัด เชื่อว่าผู้เข้าร่วมประชุมน่าจะได้ความรู้และแรงบันดาลใจในการกลับมาพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแลแบบประคับประคองในบ้านเกิดของตนเองต่อไป

การประชุม APHC ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในอีกสองปี ท่านที่สนใจไปร่วมงาน สามารถจดวันในปฏิทินล่วงหน้าได้นะครับ วันที่ ๒๖ - ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ประเทศสิงคโปร์

[seed_social]
17 เมษายน, 2561

เปิดบ้านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Peaceful Death

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบัน เฟซบุ๊ก (Facebook) ทำหน้าที่เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลความคิดกันอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งองค์กรเพื่อสังคมหรือบริษัทธุรกิจ ยังต้องอาศัยเฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์
12 มกราคม, 2564

วิถีแห่งดอกไม้: วิถีแห่งการข้ามพ้นความกลัว

หลังฟังคำตอบในฐานะผู้สอนได้เห็นรูปแบบการตัดสินตัวเองของ ผู้เรียนที่เชื่อว่า ศิลปะเป็นงานของคนที่มีพรสวรรค์หรือความสามารถเท่านั้น ส่วนตัวฉันนั้นไม่มีความรู้ศิลปะ และไม่สามารถทำงานศิลปะได้ ผู้เรียนมีความกลัวที่แสดงผ่านความรู้สึกไม่ไว้วางใจในตนเอง
23 เมษายน, 2561

สช. พร้อมเสนอ ๖ ยุทธศาสตร์ การสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต เป็นวาระระดับชาติ

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดการประชุมสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เพื่อพิจารณาร่าง "แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๙”