วิถีแห่งดอกไม้: วิถีแห่งการข้ามพ้นความกลัว

เรียบเรียง: ดิเรก ชัยชนะ หมวด:ในชีวิตและความตาย


 

ในคอร์สวิถีแห่งดอกไม้หรือการจัดดอกไม้อิเคบานะ เริ่มต้นด้วยผู้เข้าร่วมแนะนำตัวเองและบอกเล่าถึง แรงบันดาลใจที่อยากเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ หลังฟังคำตอบในฐานะผู้สอนได้เห็นรูปแบบการตัดสินตัวเองของ ผู้เรียนที่เชื่อว่า ศิลปะเป็นงานของคนที่มีพรสวรรค์หรือความสามารถเท่านั้น ส่วนตัวฉันนั้นไม่มีความรู้ศิลปะ และไม่สามารถทำงานศิลปะได้ ผู้เรียนมีความกลัวที่แสดงผ่านความรู้สึกไม่ไว้วางใจในตนเอง อย่างไรก็ตาม การสัมพันธ์กับความกลัว รวมถึงวิธีที่จะนำเราข้ามพ้นความกลัวเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของวิถีแห่งดอกไม้ในฐานะ ธรรมศิลป์ (dharma art)อันหมายถึงศิลปะแห่งการภาวนา (contemplative art or meditative art) หรือศิลปะ ที่มาจากสภาวะจิตใจของผู้จัดที่ไม่ได้จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงเผยแพร่หรือส่งสารแต่เป็นศิลปะในชีวิตประจำวัน

 

ความกลัว

ความกลัวอาจปรากฏในหลายรูปแบบ เชอเกียม ตรุงปะอธิบายว่า แบบแรกของความกลัวมาจากความ หวาดหวั่นต่อความตายว่าเราต้องตายสักวันหนึ่ง อีกแบบคือ ความกลัวว่าเราไม่สามารถจัดการกับปัญหาของ โลกนี้ได้ ความกลัวชนิดนี้แสดงออกผ่านความรู้สึกด้อย รู้สึกว่าตนไม่เก่ง ถัดมาคือความกลัวแบบปัจจุบันทัน ด่วนจากสถานการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน และบางครั้งความกลัวก็แสดงตัวออกมาในรูปของความ กระวนกระวายใจที่เราเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย เช่น ฉีกกระดาษ การกระตุกกระติ๊ก

ในคอร์สจัดดอกไม้ความกลัวเกี่ยวข้องกับการแสดงตัวตนและการสัมพันธ์กับดอกไม้ พืชและสิ่งต่างๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เรียนตัดสินตัวเองว่า ตนไม่ใช่ศิลปิน ไม่มีพรสรรค์ทางศิลปะ หรือไม่มีทักษะทางศิลปะ นั่นสะท้อนถึงความกลัวที่แสดงผ่านความรู้สึกด้อย ความกลัวนอกจากสร้างความไม่มั่นใจในการแสดงตนแล้ว ยังขวางกั้นการเชื่อมโยงและการสนิทสนมระหว่าวเรากับโลกอีกด้วย แล้วกระบวนการจัดดอกไม้อิเคบานะจะ เข้ามามีบทบาทสัมพันธ์กับความกลัวและนำเราข้ามพ้นความกลัวนี้ได้อย่างไร

 

วิถีแห่งดอกไม้ในฐานะธรรมศิลป์

วิถีแห่งดอกไม้หรืออิเคบานะในภาษาญี่ปุ่นมาจากคำว่า “อิเค” แปลว่า การจัดวาง หรือทำให้มีชีวิต และ “บานะ” หรือ “ฮานะ” แปลว่า ดอกไม้ รวมความแปลได้ว่า “การรักษาพืชให้คงมีชีวิตในภาชนะที่บรรจุน้ำ”  อิเคบานะเป็นการจัดดอกไม้ที่มีหลายรูปแบบในที่นี้เสนอการจัดแบบนาเงะอิเระ (nageire) และแบบโมริบานะ (moribana) โดยการจัดทั้งสองอยู่บนพื้นฐานของหลักองค์สาม ฟ้า (heaven) ดิน (earth) และ มนุษย์ (human) ซึ่งมีรากฐานมาจากพุทธศาสนาเป็นหลักการแห่งจิตวิญญาณที่มีความสำคัญที่มนุษย์ดำรงอยู่ระหว่างฟ้าและดิน

เชอเกียม ตรุงปะ ใช้อิเคบานะเป็นเครื่องมือสื่อสารธรรมศิลป์โดยได้อธิบายหลักองค์สามไว้ว่า “ฟ้า” ไม่ใช่ พื้นที่ว่างเปล่า หากคือมิติตั้งเดิมที่เป็นอิสระจากเหตุปัจจัยของความหวังและความกลัว ฟ้าโน้มสู่ดินเพื่อแสดง ตนได้แก่ ความดีงาม ความอ่อนโยน ดุลยภาพ และอิสรภาพอันไร้เงื่อนไขได้ดำรงอยู่ในภาวะรากฐานของฟ้า “ดิน” หมายถึงพื้นที่รองรับเต็มเปี่ยวด้วยพลังเกื้อหนุนทุกสิ่ง และ “มนุษย์” คือความเป็นมนุษย์และชีวิตมนุษย์ ที่เชื่อมฟ้าและดิน ดังนั้นธรรมศิลป์เป็นศิลปะ ที่ไม่ได้จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงเผยแพร่ ส่งสาร หรือใส่ความคิดใด ไปสู่ผู้ชม แต่เป็นศิลปะของการสำแดงถึงความจริงด้วยท่าทีอันเรียบง่ายและปราศจากความก้าวร้าว ไม่เร่งรีบ และใส่ใจอย่างยิ่งยวด รวมถึงเป็นกระบวนการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาของการชื่นชมสิ่งรอบตัวในชีวิต

ในการจัดดอกไม้ตำแหน่งกิ่งไม้และดอกไม้ที่บรรสานฟ้า ดิน และมนุษย์เข้าด้วยกันตามหลักองค์สาม ไม่ได้ถูกกำหนดแน่นอนตายตัว มันจะถูกสร้างสรรค์ใหม่ในการจัดแต่ละครั้ง โดยดอกไม้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของ มนุษย์ที่แสดงถึงความรื่นรมย์ของอิสรภาพจากความหวังและความกลัวตามหลักของฟ้า และความยืดหยุ่นตาม หลักของดิน ด้วยหลักการนี้วิถีแห่งดอกไม้ได้นำเราค้นพบกับความมั่นใจพื้นฐานและการเชื่อมโยงอยู่กับโลก

 

การค้นพบความไว้วางใจในการจัดแบบนาเงะอิเระ

               หลักองค์สามเป็นรากฐานให้กับการจัดอิเคบานะทุกรูปแบบรวมถึงการจัดแบบนาเงะอิเระ (nageire) นาเงะอิเระ ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “การโยนมันเข้าไป” กล่าวคือเป็นการจัดวางดอกไม้ตามธรรมชาติ ดังนั้น การจัดแบบนี้จึงให้ความสำคัญกับการสังเกตธรรมชาติของพืชอย่างละเอียด เพื่อจัดวางพืชให้แสดงความงาม ได้อย่างเป็นธรรมชาติโดยใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อย พืชจะถูกนำมาพิจารณาถึงน้ำหนัก ความอ่อนตัวและ ความโค้งตามธรรมชาติ ด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อจัดวางพืชได้ตามธรรมชาติและแสดงความงามอย่างที่เป็น ด้วยวินัยของนาเงะอิเระที่ไม่มีพื้นที่ให้กับความคาดหวังจากแบบแผนความคิดว่าจะจัดวางอย่างไรจึงไม่มีความกลัวว่าจะผิดพลาดหรือการตัดสินใด ผู้เรียนจึงได้ค้นพบความงามอันไร้เงื่อนไขและความไว้วางใจต่อตนเอง

ภาพ ผลงานการจัดแบบนาเงะอิเระ

การแสดงตัวตนโดยปราศจากความกลัวผ่านการจัดแบบโมริบานะ

               หลักองค์สามฟ้า ดิน และมนุษย์ เป็นรากฐานของศิลปะการจัดดอกไม้มีรากฐานมาจากพุทธศาสนา มันเป็นหลักการแห่งจิตวิญญาณ ที่มนุษย์ผู้ซึ่งดำรงอยู่ระหว่างฟ้าและดิน ผู้ประสานทั้งสิ่งสูงส่งทางจิตวิญญาณ ของฟ้าและสิ่งสามัญอย่างโลกเข้าด้วยกัน หลักองค์สามนี้ให้พื้นที่ว่างของโครงสร้างสามเหลี่ยมที่ไม่สมมาตรที่มีเนื้อหาเป็นปฏิภาคกันระหว่างความว่างและความเต็มเปี่ยม การปล่อยวางและความกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา ในคอร์สวิถีแห่งดอกไม้ผู้เรียนฝึกหลักการนี้ผ่านการจัดแบบโมริบานะ (moribana) ซึ่งภาษาญี่ปุ่นแปลความว่า “กองดอกไม้” หรือการจัดเป็นกองดอกไม้ในภาชนะแจกันประเภทถาดน้ำ การจัดแบบโมริบานะที่ใช้พืชหลาก หลายชนิดเรียกร้องความละเอียดอ่อนและความแม่นยำในการสังเกตพืช เพื่อจัดแสดงความงามตามที่มันเป็น รูปแบบการจัดที่เราวางแผนไว้ล่วงหน้าหรือคิดอยู่ในหัวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปล่อยวางไป แล้วกลับมาสัมพันธ์ กับพืชและพื้นที่ในโครงสร้างสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าอันเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อค้นหาความกลมกลืนระหว่าง ความรุ่มรวยและการปล่อยพื้นที่ว่าง ในความเป็นจริงแล้วนั่นคือการค้นหาคุณลักษณะธรรมชาติอันจริงแท้ของ ความเป็นตัวเราที่สื่อสารผ่านการจัดดอกไม้ คุณลักษณะที่ไม่ได้มาจากความคาดหวังหรือการคิดว่าเราเป็นใคร เป็นคุณลักษณะของการแสดงตนโดยปราศจากความกลัว ที่เราสัมพันธ์กับพืช ดอกไม้ แจกัน สถานที่ ผู้คนและ พื้นที่ด้วยความเปิดกว้าง อ่อนโยน และไว้วางใจในตนเองอย่างถึงที่สุด

ภาพ ผลงานการจัดแบบโมริบานะ

สรุป

วิถีแห่งดอกไม้เป็นวิถีแห่งการแสดงตัวตนโดยปราศจากความหวังและความกลัวผ่านการสัมพันธ์กับ พืช ดอกไม้ แจกัน สถานที่ ผู้ชม และพื้นที่ ด้วยวินัยของการฝึกที่ไม่ตัดสินทั้งต่อตัวเองและสิ่งอื่นๆ เราจะได้ ค้นพบกับคุณลักษณะของความเปิดกว้าง อ่อนโยน และกล้าหาญภายในตัวเอง การค้นพบเหล่านี้ได้สะท้อน ผ่านเสียงผู้ร่วมกิจกรรมดังนี้

“ การร่วมกิจกรรมจัดดอกไม้ได้เข้ามาทะลายกรอบบางอย่างที่เราคิดเกี่ยวกับตัวเอง เช่น เราไม่มีความสามารถทางศิลปะ การจัดดอกไม้เราไม่มีเซนส์อะไรแบบนี้เลย แต่กระบวนการนี้ช่วยให้เรา ได้ปลดปล่อยตัวเองและเปิดกว้างออกไปกับการลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนสองวันนี้มีความสุขมาก”

นอกจากนี้ วิถีแห่งดอกไม้ได้นำเรากลับไปเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ผู้คน และสิ่งต่างๆอีกครั้ง ดังนั้น ผู้ฝึกฝนศิลปะเช่นนี้จึงไม่ใช่ผู้ที่เลิกสนใจไยดีกับโลกหรือบุคคลที่หนีโลก นั่นเพราะด้วยหลักการของฟ้า ดิน และมนุษย์ เราคือผู้ยืนมั่นเชื่อมโยงอยู่ระหว่างฟ้าและดิน  นั่นคือเราได้พัฒนาท่าทีของการชื่นชมและการเคารพ การดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆอย่างที่เป็น ทัศนคติของใจที่ขยายกว้างนี้สะท้อนผ่านเสียงของผู้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้

 “การร่วมกิจกรรมอิเคบานะได้เรียนรู้มุมมองใหม่ในการสัมพันธ์กับธรรมชาติและการชื่นชมความงาม ของพืช ดอกไม้ และสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ทั้งยังช่วยให้เราค้นพบความสุขในชีวิตของเราได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ เห็นว่ามุมมองนี้ทำให้เราเริ่มรับรู้คนในครอบครัวจากมุมมองใหม่ ที่ช่วยให้เราเข้าไปชื่นชม และเปิดกว้างต่อสิ่งที่เขาเป็นไม่ใช่จากสิ่งที่เราคิดว่าควรเป็น ”               

 

ภาพ บรรยากาศของห้องเรียนการจัดดอกไม้อิเคบานะ

วิถีแห่งดอกไม้เป็นวิถีแห่งการข้ามพ้นความกลัว ด้วยความไว้วางใจต่อตัวเองได้เช่นนี้เราย่อมสัมพันธ์ กับสถานการณ์ได้ด้วยท่าทีเด็ดเดี่ยวรวมถึงต่อความตาย ในอดีตอิเคบานะจึงเป็นศิลปะที่ซามุไรญี่ปุ่นฝึกฝนกัน

 

[seed_social]

25 เมษายน, 2561

สวัสดีความตาย ยินดีที่ได้รู้จัก

เพราะเคยถูกความตายมาทักทายอย่างไม่ทันได้ตั้งตัวครั้งหนึ่ง ทำให้ คุณรัศมี มณีนิล นักจัดรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว เริ่มตระหนักว่า ความตายวนเวียนอยู่ใกล้ตัวจนต้องหันมาใส่ใจทำความรู้จักกันมากขึ้น
10 มกราคม, 2561

วันที่กายติดเตียง

ชัยพร นำประทีป หรือที่แฟนเพลงจำนวนหนึ่งรู้จักดีในนามของ เอี้ยว ณ ปานนั้น เป็นนักดนตรีเปิดหมวกผู้มีชื่อเสียงคนแรกๆ ของประเทศไทย เมื่อ ๓ ปีก่อน เขาเกิดอุบัติเหตุจากการตกบันได ทำให้ได้รับบาดเจ็บหนักที่สุดในชีวิต
20 มีนาคม, 2561

เมื่อมาถึงทางตัน

พ่อของฉันซึ่งเป็นคนอีสาน อาชีพทำนา ทำสวน และค้าขาย ร่างกายแข็งแรง ไม่เคยเป็นโรคร้ายแรงใด แต่ต้องเข้าโรงพยาบาล เมื่ออายุ 56 ปี เพียงเพราะเป็นแผลที่นิ้วเท้านิ้วเดียว