parallax background
 

แคปซูลฝังศพที่สามารถ
เปลี่ยนสุสานให้กลายเป็นป่า

ผู้เขียน: กองสาราณียกร หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

บริษัทออกแบบสัญชาติอิตาลี แคปซูล่า มุนดิ (Capsula Mundi) คิดค้นวิธีการสร้างแคปซูลฝังศพพลาสติกอินทรีย์ที่ทำจากแป้งซึ่งเมล็ดพืชสามารถเติบโตแหวกออกมาภายนอกได้ จากนั้น กระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติจะช่วยหล่อเลี้ยงต้นไม้ที่อยู่ด้านบน จนสามารถเปลี่ยนหลุมศพรกร้างมาเป็นอนุสรณ์อันเขียวชอุ่มได้

มนุษย์ ๗ พันล้านคนบนโลกล้วนต้องจบชีวิตลงไม่วันใดวันหนึ่ง เราจึงต้องกลับมาทบทวนเรื่องการฝังศพแบบเดิมเสียใหม่ เพราะโลกมีพื้นที่จำกัด ไม่เพียงพอรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ รวมถึงการเผาศพที่ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก แต่ด้วยแคปซูลฝังศพรูปไข่ดังกล่าว ร่างกาย (ซึ่งยังไม่ปนเปื้อนฟอร์มาลีนและสารพิษต่างๆ) จะขดตัวอยู่ภายในแคปซูลด้วยท่าทารกในครรภ์ พร้อมด้วยเมล็ดพืช ก่อนถูกนำไปฝังอยู่ในดินอุดม ซึ่งจะทำให้สมาชิกครอบครัวได้รับของขวัญอันงดงามคือ ต้นไม้ที่พวกเขาสามารถฟูมฟักให้เติบโตได้แทนป้ายหลุมศพหินสลักแบบเดิม

เมื่อพื้นที่สำหรับแคปซูลฝังศพขยายตัวออกไปและบรรดาต้นไม้ต่างล้วนเติบโต พื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นป่าอันศักดิ์สิทธิ์ที่ร่างของผู้ตายกลับคืนสู่ธรรมชาติที่ถือกำเนิดมา ผืนดินอันแห้งแล้งจะกลับกลายเป็นป่าอันอุดมด้วยมือของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ว่าในปัจจุบัน เรื่องแคปซูลฝังศพยังเป็นเพียงแนวคิด แต่เมื่อกฎหมายเรื่องการฝังศพทั่วโลกได้รับการทบทวนอย่างกว้างขวางจริงจัง หวังว่าแนวคิดดังกล่าวจะกลายเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้

เรียบเรียงจาก
https://inhabitat.com/capsula-mundi-burial-pods-can-turn-cemeteries-into-forests/

[seed_social]
19 เมษายน, 2561

จิตตปัญญาศึกษา…สู่ชีวิตที่ดีงาม (Contemplative Education: The Right Livelihood)

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดงานการประชุมวิชาการประจำปี จิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ ๗ ขึ้น เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการตื่นรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานและเกิดจิตสำนึกใหม่ มุ่งให้เกิดประโยชน์กับเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ
2 มกราคม, 2561

ตายเพื่อจะเกิดใหม่

ในห้องขนาดใหญ่ที่มีเพียงแสงเทียนสลัว ชายและหญิงต่างวัยหลายสิบคนในชุดสำหรับ "คนตาย" ตามธรรมเนียมเกาหลีที่ทำมาจากต้นปอ ค่อยๆ ก้าวลงโลงศพที่ทำจากไม้ ฝาโลงค่อยๆ ปิดลง พร้อมกับเสียงค้อนที่ตอกลง
17 เมษายน, 2561

ความเคลื่อนไหว เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในมาเลเซีย

รากฐานเริ่มแรกของขบวนการฮอสพิซในมาเลเซีย เป็นผลงานการบุกเบิกของ ดาโต๊ะ ศรี จอห์น คาร์โดซา (John Cardosa) ในช่วงทศวรรษที่ ๗๐ และ ๘๐ เมื่อจอห์นพบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งใน ปี ค.ศ.๑๙๗๒ ทำให้เขาประสบกับการบำบัดโรคร้ายที่คุกคามชีวิต