parallax background
 

หวั่นไหวเรื่องความตาย

ผู้เขียน: พระไพศาล วิสาโล และคณะ หมวด: ประสบการณ์ชีวิต


 

ถาม : กราบเรียนถามค่ะ ดิฉันไม่เข้าใจตัวเองว่าทำไมเวลาเจอกับเรื่องของความตายทีไร ต้องร้องไห้ทุกที ทั้งๆ ที่จิตใจรู้ดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา ได้ดูวีซีดีที่พระอาจารย์โปรดนำทางคนใกล้ตายท่านสงบมาก แต่ดิฉันดูไปร้องไห้ไปทั้งๆ ที่ไม่รู้จักคนตายด้วยซ้ำไป ทำอย่างไรจึงจะไม่ร้องไห้เวลาได้ประสบกับเรื่องของความตาย กราบขอบพระคุณค่ะ / ศิริวรรณ ประพันธ์ธุรกิจ

ตอบ : ที่คุณร้องไห้คงเป็นเพราะเวลาได้ยินได้รับรู้เรื่องนี้แล้วทำให้ระลึกถึงความตายของตนเอง ในใจคุณนั้นยังมีความอาลัยในชีวิต ความหวงแหนในตัวตน รวมทั้งความกลัวตาย จึงรู้สึกหวั่นไหว ไม่สามารถครองใจเป็นปกติได้เมื่อตระหนักชัดว่าสักวันหนึ่งคุณเองก็ต้องตายเหมือนคนอื่นๆ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา อย่าปฏิเสธปฏิกิริยาดังกล่าวของใจ เมื่อร้องไห้ก็รับรู้ว่าร้องไห้ ยอมรับมัน อย่าไปกดข่มมัน

ที่คุณพูดว่า “จิตใจรู้ดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา” อันนี้เป็นการรู้ในระดับเหตุผล หรือระดับสมอง แต่ยังไม่ลงลึกไปถึงระดับอารมณ์หรือหัวใจ พูดอีกอย่าง คือสมองกับหัวใจยังไม่ไปด้วยกัน สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ ระลึกถึงความตายบ่อยๆ ที่เรียกว่า มรณสติ การระลึกนึกถึงบ่อยๆ จะช่วยให้ใจยอมรับความตายได้ดีขึ้น

มรณสติ คือระลึกว่าสักวันหนึ่งฉันจะต้องตาย แต่จะตายเมื่อไหร่ไม่รู้ อาจเป็นวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้ จากนั้นให้ถามตัวเองว่าหากต้องตายวันนี้พรุ่งนี้ ฉันพร้อมหรือยัง ทำความดีมามากพอหรือเปล่า ทำหน้าที่ต่างๆ สมบูรณ์ครบถ้วนหรือยัง และพร้อมจะปล่อยวางทุกสิ่งรวมทั้งลูกหลานพ่อแม่หรือไม่ หากไม่พร้อม ก็ควรขวนขวายทำสิ่งเหล่านี้เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรับความตายเสมอ

หากทำถูก จิตใจจะกระตือรือร้น ไม่หดหู่ซึมเศร้า คุณควรทำทุกวัน เช่น ก่อนนอน หรือตื่นเช้า ใหม่ๆ จิตใจจะยังหวั่นไหว ต่อต้านอยู่ แต่หากทำไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆ จิตใจก็จะยอมรับ และปรับตัว ขวนขวายในการเตรียมตัวเตรียมใจในเรื่องนี้ การเตรียมตัวเตรียมใจเสมอจะทำให้คุณกลัวตายน้อยลง และไม่หวั่นไหวเมื่อรับรู้ถึงความตายของคนอื่น หรือแม้กระทั่งคนที่คุณรักหรือใกล้ชิด

[seed_social]
18 เมษายน, 2561

ความฝันกับความจริง

ศิลปะมีความน่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ โดยตัวศิลปะเองเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ได้อยู่กับตนเอง ได้ถ่ายทอดตัวตนที่อยู่ภายในออกมาเป็นผลงานภายนอกที่เป็นรูปธรรม ช่วยนำไปสู่การเข้าใจและเปลี่ยนแปลงตนเอง
19 เมษายน, 2561

ตำราเล่มใหญ่คือคนไข้

“พี่ทำงานแบบนี้ตั้งแต่ยังไม่มีการสั่งการ” ระยะเวลายาวนานที่พี่เกื้อ หรือคุณเกื้อจิตร แขรัมย์ ทำงานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ทำให้ได้พบคนไข้และญาติจำนวนมากซึ่งมีความต้องการต่างกัน
28 กันยายน, 2560

ท่องโลกกว้างกับสล็อต

ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีอารมณ์ฉุนเฉียว ขี้โมโห ถึงขั้นลงไม้ลงมือเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ เป็นปัญหาที่น่าหนักใจ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี บางคนเคยอารมณ์ดี