peacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeath
  • บทความ
  • ชุมชนกรุณา
    • Podcast
    • เรื่องเล่ากระบวนกรชุมชน
  • ดูแลใจผู้สูญเสีย
  • กิจกรรม
  • ข่ายใยมิตรภาพ
    • หน่วยบริการประคับประคองใกล้บ้าน
  • Download
  • Shop
  • ติดต่อเรา
  • English Version
✕

ยากันซึม กับเจนจิรา

Podcast
กิจกรรมบำบัด, ยากันซึม, เจนจิรา, โควิด-19
 
7272163-1625367550152-16d60215c88b
 
listen-on-google-podcasts-logo-1

คลิกเพื่อฟังเสียง

คุณเจน เจนจิรา โลชา และคุณเบนซ์ วิชญา โมฬีชาติ เป็นกระบวนกรจัดกระบวนการเรียนรู้ในมิติที่หลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องการอยู่และตายดี (Peaceful Death) คุณเจนยังเป็นจิตอาสาแห่งชุมชนขะใจ๋ เชียงราย ส่วนคุณเบนซ์ เป็นจิตอาสาชุมชนกรุณาขะใจ๋ เชียงใหม่ ทั้งคู่ร่วมกันทำกิจกรรม "ยากันซึม" ทางออนไลน์ เพื่อเปิดพื้นที่ดูแลหัวใจผู้คนท่ามกลางความตึงเครียดในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด  

กิจกรรมยากันซึม เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้การจัดกิจกรรมหรือการอบรมแบบกลุ่มบำบัดที่พบหน้ากันในชุมชนไม่ได้  จึงปรับมาจัดกิจกรรม “21 วันพารุ้งมาพบใจ” แบบออนไลน์ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก ต่อเนื่องมาจนถึงการระบาดระลอกที่ 2 แต่เมื่อโควิด-19 ระบาดเป็นระลอกที่ 3 กระบวนกรต้องการดูแลตัวใจตัวเองด้วย เพราะรู้สึกแย่ อึดอัด เริ่มมีความเครียดจากข่าวสารและการฉีดวัคซีนที่เต็มไปด้วยความสับสนและห่อเหี่ยว จึงคิดทำกิจกรรมยากันซึมเพื่อหาทางทำให้ทุกคนมีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้น

วิธีคิดที่เริ่มจากตนเองและคิดถึงเพื่อนๆ ในชุมชนขะใจ๋ ทำให้คุณเบนซ์ คุณเจน และเครือข่าย คิดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ “ไพ่ฤดูฝน” มาปรับใช้เป็นชุดกิจกรรม คือ “ยากันซึม 9 กิจกรรม”  “21 วันพารุ้งมาพบใจ” และ “ดูแลใจด้วยไพ่ฤดูฝน”

กลุ่มเป้าหมายเริ่มแรกของกิจกรรมยากันซึม คือผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม เพราะคนเหล่านี้เผชิญกับสถานการณ์ที่วิกฤติมาก แต่เมื่อไปดูหน้างาน ทำให้พบบุคลากรเหล่านี้ไม่ค่อยมีโอกาสได้มาร่วมกิจกรรม เพราะต้องการเวลาพักผ่อน และบริบทของโรงพยาบาลสนามไม่เอื้อให้มีกิจกรรมที่ดูแลผู้พักอาศัย แต่โชคดีที่กลุ่มผู้ป่วยจะมีโทรศัพท์มือถือและเสพสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้จัดไม่ทราบว่ากิจกรรมที่คิดจะไปรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือคนไข้ที่มีอาการแตกต่างกันไหม จึงปรับการออกแบบกิจกรรมโดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ไม่จำต้องอยู่ในโรงพยาบาลสนามหรือเป็นบุคลากรทางการแพทย์ แต่อาจเป็นประชาชนทั่วไปที่รู้สึกแย่ รู้สึกซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้กับสถานการณ์โควิด-19 และเนื่องจากผู้จัดเชื่อว่ามนุษย์มีช่องทางการเรียนรู้หรือทำให้ใจผ่อนคลายแตกต่างกันไป เช่น บางคนชอบศิลปะ บางคนชอบคิดชอบคุย ฯลฯ จึงออกแบบกิจกรรมให้หลากหลาย เพื่อรองรับความถนัดและความสนใจที่แตกต่างกันของผู้คนที่อาจจะถนัดคิดหรือถนัดทำ และดึงเครือข่ายเพื่อนๆ ได้แก่ ครูโยคะ คนเล่านิทาน คนชอบวาดภาพ ให้มีโอกาสดูแลใจตัวเองและคนอื่น 

กิจกรรมยากันซึมไม่ได้เน้นจำนวนผู้เข้าร่วมคราวละมากๆ แต่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมเกิดการผ่อนคลายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจริงๆ เมื่อให้มีหลักการ ทักษะ วิธีคิดที่นำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ อย่างกิจกรรมในหมวดศิลปะ จะมีวาดรูปง่ายๆ ใช้ลายเส้น เรียนรู้ตัวเองผ่านงานศิลปะ ได้เรียนรู้ทักษะในการดูแลใจตัวเองและผ่อนคลาย จนผู้เข้าร่วมยังส่งผลงานมาในกลุ่มต่อเนื่องแม้จบกิจกรรมไปแล้ว

ส่วนการอบรมสุนทรียสนทนา นิทานบันดาลใจ หรือชวนเล่นเกมไพ่ไขชีวิต ทำให้พวกเขาตระหนักว่าชีวิตของเขายังมีค่า และในสถานการณ์แบบนี้ เขาจะดูแลใจตัวเองอย่างไร กิจกรรมไม่รับคนเข้าร่วมเยอะ เพราะเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนพูดคุย เริ่มจากสิ่งที่ทำให้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทำกิจกรรมตามหัวข้อ และถอดบทเรียนสิ่งที่ได้จากกิจกรรม เป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

นอกจากผู้เข้าร่วมจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมยากันซึมแล้ว ทางทีมผู้จัดเองก็ได้ประโยชน์ด้วย กระบวนกรทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้จัดการโครงการที่เกื้อหนุนให้เกิดกิจกรรม มีอิสระในการออกแบบงาน และหลังการจัดกิจกรรมทุกครั้ง จะมีการถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างทีมงานและกระบวนกร เพื่อพัฒนากิจกิจกรรม ทีมงาน และเครือข่ายไปพร้อมๆ กัน ในวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 การทำกิจกรรมยากันซึมไม่ใช่การทำเพื่อคนอื่น แต่เป็นทำเพื่อตนเองด้วย ได้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านในเวลาเดียวกัน


วันที่ออกอากาศ: 4 กรกฎาคม 2564
ผู้เรียบเรียง:
ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ

 

เรื่องเล่าที่น่าสนใจ

  • 10 ตุลาคม, 2563

    เปลี่ยนความเศร้าเป็นเข้าใจ กระบวนการเยียวยาจิตใจผ่าน Self Help Group สำหรับผู้สูญเสีย


    Read more
  • 4 ตุลาคม, 2563

    การดูแลจิตใจผู้ดูแลด้วยแคร์คลับ


    Read more
  • 4 กรกฎาคม, 2564

    ยากันซึม กับเจนจิรา


    Read more
  • 15 พฤศจิกายน, 2563

    สันติภาวัน การก่อตั้งสถานพำนักภิกษุอาพาธระยะท้าย


    Read more
  • 28 มีนาคม, 2564

    ชีวิตบนถาดทราย การใช้ Sand Tray ดูแลความสูญเสียและสนทนาเรื่องความตาย


    Read more
peaceful death
เรียนรู้ความตาย เข้าใจชีวิต

เมนูลัด

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • กิจกรรม
  • ร้านค้าบน Shopee
  • Download
  • ข่ายใยมิตรภาพ
  • เกี่ยวกับเรา
  • งานศึกษาวิจัย
  • ติดต่อเรา

คอลัมน์บทความ

  • ชุมชนกรุณา
  • How to
  • ประสบการณ์ชีวิต
  • รีวิวสุนทรียะในความตาย
  • อาสามีเรื่องเล่า
  • ในชีวิตและความตาย
  • ชีวิตเบ็ดเตล็ด
  • อาทิตย์อัสดง

ซื้อสินค้า

ติดตามเรา

Creative Commons License

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน
ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า

    ✕

    เข้าสู่ระบบ

    คุณจำรหัสผ่านไม่ได้?