parallax background
 

ความตายในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงในรอบศตวรรษ

ผู้เขียน: ศรินธร รัตน์เจริญขจร หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

เมื่อวันที่ ๒๓-๒๕ กันยายนที่ผ่านมา สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ได้จัดงานประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ เรื่อง “เสริมสร้างจิตวิญญาณงานสาธารณสุขสู่ ๑๐๐ ปีการสาธารณสุขไทย” ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีหัวข้อบรรยายและเสวนาที่น่าสนใจหลากหลาย อาทิ “สาธารณสุขกับโลกาภิวัตน์” “สะท้อนย้อนคิดพินิจสาธารณสุขไทย” “วิวัฒนาการเรื่องสิทธิกับสุขภาพ” และ “ภาคเอกชนกับการสาธารณสุขไทย” เป็นต้น

เครือข่ายพุทธิกาได้เข้าร่วมนำเสนอประเด็นเสวนาในห้องย่อยของการประชุมครั้งนี้ด้วย ในเรื่อง “ความตายในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงในรอบศตวรรษ” โดยมี ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ จากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และ นพ.สกล สิงหะ จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ เป็นผู้นำเสนอประเด็นร่วมกัน

หัวข้อเรื่อง “ภิกษุสงฆ์กับความตาย” ที่นำเสนอโดยเครือข่ายพุทธิกา มองว่าบทบาทพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบันได้ถูกลดทอนลงอย่างมาก จากอดีตที่วัดและพระต่างสัมพันธ์ และพึ่งพาซึ่งกันกับชุมชนและญาติโยม ทั้งในเรื่องการศึกษา วัฒนธรรมประเพณี หรือแม้แต่การสาธารณสุข พระมีบทบาทเป็นทั้งครูและหมอ แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองหลายด้าน ทำให้โครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ใกล้ชิดกับรัฐ และห่างจากชุมชนโดยปริยาย พระสงฆ์คงเหลือบทบาทเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม และสำหรับความตาย พระสงฆ์จะอยู่เพียงในพิธีศพ

ดังนั้น เครือข่ายพุทธิกาจึงดำเนินโครงการขับเคลื่อนมิติสุขภาวะทางปัญญาผ่านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูบทบาทพระสงฆ์ โดยสนับสนุนให้ท่านเข้าร่วมเรียนรู้และทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรสุขภาพในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งโครงการพบว่า พระสงฆ์ที่ร่วมงานกันได้เรียนรู้บทบาทและคุณค่าของการบวชมากขึ้น ธรรมะที่ท่านได้ศึกษามาตลอดระยะเวลาของการบวชถูกนำมาใช้ได้เห็นผลจริงในการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนรู้และใกล้ชิดความตายมากขึ้นจากประสบการณ์การเยี่ยมผู้ป่วยที่ท่านได้ปฏิบัติมา

ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยหลายรายมีความยินดีที่มีพระสงฆ์มาเยี่ยมเยียนถึงบ้าน โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยชราที่เคยไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ เมื่อล้มป่วยหรืออายุมาก เดินเหินไม่สะดวก ไม่ค่อยได้ไปวัดเหมือนก่อน เมื่อมีพระมาเยี่ยมจะรู้สึกปีติยินดี ได้ทำบุญ ได้เห็นผ้าเหลือง ในวัยไม้ใกล้ฝั่งเช่นนี้ก็สุขใจ

[seed_social]
19 เมษายน, 2561

ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ในการดูแลผู้ตาย ควรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ตลอดหลายปีที่ผมทำงานกับศพในสหรัฐอเมริกา เท่าที่ผมรู้ ไม่มีใครพาลูกๆ ไปซ่อนตอนที่ผมเดินผ่าน แต่ความกลัวต่อนักจัดการศพไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะหมู่บ้านในชนบทที่ห่างไกลเท่านั้น
9 พฤษภาคม, 2561

โรงเรียนสัปเหร่อ

ไม่รู้ว่าบ้านเรามีหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ เยอรมนี แดนเบียร์ไส้กรอกอร่อย มีโรงเรียนสัปเหร่อ แห่งเดียวของยุโรป โดยชาวเยอรมันเข้าฝึกหัดการเป็นสัปเหร่อ