peacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeath
  • บทความ
  • ชุมชนกรุณา
    • Podcast
    • เรื่องเล่ากระบวนกรชุมชน
  • ดูแลใจผู้สูญเสีย
  • กิจกรรม
  • ข่ายใยมิตรภาพ
    • หน่วยบริการประคับประคองใกล้บ้าน
  • Download
  • Shop
  • ติดต่อเรา
  • English Version
✕

21 วันพารุ้งมาพบใจแนวคิดและแนวทางการทำงาน

Podcast
21วันพารุ้งมาพบใจ, จิตอาสาชุมชนกรุณาขะไจ๋, ชุมชนกรุณาออนไลน์, ไพ่รุ้ง, ไพ่ฤดูฝน
 
7272163-1599945991341-b25e197ff1863
 

จิตอาสาชุมชนกรุณาขะไจ๋ หรือ CoCo ขะไจ๋ (“CoCo” ย่อมาจาก Compassionate Community) เกิดจากการรวมกลุ่มเพื่อนที่เป็นนักจิตวิทยาในจังหวัดเชียงรายและลำปาง เพื่อทำงานเรื่องการทำให้คนอยู่ดีและตายดี เพราะเป็นประเด็นสำคัญยิ่งในปัจจุบันเมื่อสังคมไทยกำลังเผชิญกับสังคมสูงวัย จำเป็นต้องเตรียมการดูแลสุขภาวะของคนเหล่านี้อย่างเร่งด่วน จึงใช้คำว่า “ขะไจ๋” ที่แปลว่า “ด่วน” ในภาษาเหนือ 

จากประสบการณ์การทำงานนักจิตวิทยาคลินิกในโรงพยาบาลของพี่เบ๊นท์ วิชญา โมฬีชาติ หนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้ง CoCo ขะไจ๋ ทำให้มีโอกาสทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นทีมแพทย์ ทีมพยาบาล และทำงานกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย บทบาทหลักของนักจิตวิทยาคลินิกจะเน้นไปที่การดูแลความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและญาติ การให้กำลังใจ การดูแลสุขภาพจิตทั้งของผู้ป่วยและญาติที่กังวลเรื่องความป่วยไข้ แต่การเป็นจิตอาสาชุมชนกรุณา ไม่ได้ทำเฉพาะที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังทำงานร่วมกับ “ชุมชน” คือการสร้างพื้นที่แห่งการรับฟัง โดยเข้าไปเชื่อมประสานให้เกิดกลุ่มสนทนา เรียกว่า “ชุมชนกรุณาในจังหวัดเชียงใหม่”

ภายในชุมชนกรุณาจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยหลายชุมชนย่อย หนึ่งในนั้นคือ “ชุมชนชมภูกรุณา” ต.พญาชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งกระบวนกรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุที่นำเครื่องมือ Peaceful Death มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นสุนทรียสนทนา เกมไพ่ไขชีวิต และสมุดเบาใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างกำลังใจอย่างยิ่ง เพราะการเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะกระบวนกรชุมชนทำให้ผู้สูงอายุและผู้พิการที่เหมือนเป็น “ภาระ” ของชุมชนและสังคม กลายมาเป็น “ผู้ช่วยเหลือ” สร้างพลังใจและกำลังใจแก่ผู้คน เป็นการเสริมแรงกระบวนกรและศักยภาพของชุมชนไปพร้อมๆ กัน 

กิจกรรมของจิตอาสาชุมชนกรุณาขะไจ๋ คือการออกเยี่ยมบ้านประจำสัปดาห์ แต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ พี่เบ๊นซ์จึงออกแบบกิจกรรม “21 วันพารุ้งมาพบใจ” โดยนำ “ไพ่ฤดูฝน” มาเป็นสื่อในการพูดคุยกับผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยและความตายอยู่เสมอ จึงเกิดความกังวลใจและความเครียดสะสมจนบ่อยครั้งไม่สามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ ไพ่ฤดูฝนจึงเป็นเครื่องมือช่วยให้พวกเขาเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองได้ชัดเจนขึ้น 

ไพ่ฤดูฝนแบ่งออกเป็นไพ่หลายชุด เช่น ไพ่เมฆ ใช้ทำกิจกรรมรับฟัง ไพ่ฝน ใช้ฟังความรู้สึก ไพ่ร่ม ใช้สะท้อนความต้องการ โดยมี “ไพ่รุ้ง” เป็นชุดสุดท้าย ประกอบด้วยถ้อยคำเชิงบวกที่เชื่อมต่อกับคุณลักษณะดีๆ ที่แต่ละบุคคลมีอยู่แล้ว เช่น ความเรียบง่าย ความรัก ความสนุกสนาน ความตั้งใจ ความสร้างสรรค์ ศิลปะ เป็นต้น โดยกระบวนการจะให้ผู้เข้าร่วมหยิบไพ่ที่มีถ้อยคำเชิงบวกเหล่านี้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนปิดการสนทนา เพื่อให้ทุกคนได้กำลังใจ ได้รับพร ตระหนักถึงศักยภาพและความสุขภายในตนเองอีกครั้งหนึ่ง

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ทำให้คณะทำงานไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อทำกระบวนการในชุมชนได้เหมือนเช่นเคย จึงปรับรูปแบบโดยตัดไพ่ให้เหลือเพียงไพ่รุ้งเและทำเป็นกิจกรรมออนไลน์จนเกิดพื้นที่ “ชุมชนกรุณา online” โดยมีข้อกำหนดว่า ผู้เข้าร่วมจะต้องทำงานกับไพ่รุ้งเป็นเวลา 21 วัน จึงเป็นที่มาของคำว่า “ 21 วันพารุ้งมาพบใจ” จากความเชื่อว่า การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 21 วัน สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ โดยเปิดรับสมัครและสร้างกลุ่มปิดในเฟซบุ๊กเพื่อให้สมาชิกมาพบปะกันทุกเช้าผ่านช่องทางออนไลน์ และเปิดไพ่รุ้ง 1 ใบ (ไพ่รุ้ง 1 สำรับมี 43 ใบ) แล้วโพสต์ในเฟซบุ๊กกรุ๊ป เวลา 6 โมงเช้า เหมือนกับสมาชิกได้รับพรจากไพ่ทุกๆ เช้าติดต่อกัน 21 วัน ได้รับถ้อยคำดีๆ มาครุ่นคิดและทบทวนกับตัวเองว่าสมาชิกรู้สึกอย่างไร นำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ชีวิตประจำวัน และเข้ามาแบ่งปันประสบการณ์แต่ละวันในกลุ่มปิด ไม่ว่าจะในรูปแบบถ้อยคำ ภาพวาด ภาพถ่าย บทกวี หรือสิ่งที่สามารถสื่อสารได้ออกมาตามความถนัดของแต่ละคนบุคคล 

ผลจากการทำกิจกรรมไพ่รุ้ง 21 วันกับชุมชนกรุณาออนไลน์ พี่เบ๊นซ์พบว่า ในช่วงเวลาแห่งความสับสนและไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความป่วยไข้ของผู้ป่วย กิจกรรมนี้ช่วยเปิดพื้นที่ให้ทุกคนกลับมาเห็นศักยภาพของตนเอง ถึงสิ่งที่เป็น สิ่งที่มี และสามารถทำได้ ในวันที่รู้สึกท้อแท้หรือยากลำบาก การได้ใคร่ครวญผ่านคำพรจากไพ่รุ้ง ทำให้แต่ละคนได้มีโอกาสคิดถึงแง่มุมที่ดีของสถานการณ์ที่เผชิญ เป็นแรงจูงใจในการใช้ชีวิตท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากในแต่ละวัน ไพ่รุ้งยังปรับใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น มีกลุ่มอาจารย์ที่นำไพ่รุ้งไปใช้กับนักศึกษาเพื่อทำให้นักศึกษามีพลังดีๆ ในการหาความรู้ในภาวะที่ต้องเรียนออนไลน์ท่ามกลางสถานการณ์โควิด เป็นต้น

ไพ่รุ้งทำให้ผู้คนได้เห็นว่า เครื่องมือของ Peaceful Death สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย ดังเช่นในสถานการณ์โควิด ทำให้เห็นศักยภาพของไพ่รุ้งในการเป็นเครื่องมือทบทวนตนเอง เพื่อสะสมสุขภาพจิตที่ดีเป็นต้นทุนในการเผชิญวันที่เลวร้ายได้ด้วยศักยภาพที่มีในตัวเอง


วันที่ออกอากาศ: 13 กันยายน 2563
ผู้เรียบเรียง:
 ปุณยอาภา ศรีคิรินทร์

 

เรื่องเล่าที่น่าสนใจ

  • 21 กุมภาพันธ์, 2564

    ห้องเรียนไขชีวิต การประยุกต์ใช้เกมไพ่ไขชีวิตในการเรียนการสอนด้านสุขภาพของนักเรียนทันตกรรมชุมชน


    Read more
  • 4 ตุลาคม, 2563

    การดูแลจิตใจผู้ดูแลด้วยแคร์คลับ


    Read more
  • 13 ธันวาคม, 2563

    หอศิลป์ผู้สูงอายุราชสีมา กระบวนการศิลปะในบ้านพักผู้สูงอายุ


    Read more
  • 13 กันยายน, 2563

    21 วันพารุ้งมาพบใจแนวคิดและแนวทางการทำงาน


    Read more
  • 10 พฤษภาคม, 2564

    ชุดศิลปะดูแลใจ


    Read more
peaceful death
เรียนรู้ความตาย เข้าใจชีวิต

เมนูลัด

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • กิจกรรม
  • ร้านค้าบน Shopee
  • Download
  • ข่ายใยมิตรภาพ
  • เกี่ยวกับเรา
  • งานศึกษาวิจัย
  • ติดต่อเรา

คอลัมน์บทความ

  • ชุมชนกรุณา
  • How to
  • ประสบการณ์ชีวิต
  • รีวิวสุนทรียะในความตาย
  • อาสามีเรื่องเล่า
  • ในชีวิตและความตาย
  • ชีวิตเบ็ดเตล็ด
  • อาทิตย์อัสดง

ซื้อสินค้า

ติดตามเรา

Creative Commons License

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน
ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า

    ✕

    เข้าสู่ระบบ

    คุณจำรหัสผ่านไม่ได้?