ไมตรี: หัวใจของการรับฟัง

เรียบเรียง: ดิเรก ชัยชนะ หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

          เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ‘สุนทรียสนทนา’ ที่เป็นกลุ่ม Caregiver ท่านหนึ่งในชุมชนเริ่มพูดถึงแรงบันดาลใจ ของการทำงานจิตอาสาและการดูแลแบบประคับประคองในชุมชน ว่าแรงบันดาลใจนั้นมาจากประสบการณ์ของ การสูญเสียบุคคลในครอบครัว เสียงพูดของเธอเริ่มสั่นเครือแล้วหยุดชะงักลง กลายเป็นเสียงสะอื้นไห้พร้อมน้ำตา เพื่อนข้างๆและหลายคนในห้องประชุมบอกปรามว่า “อย่าร้องไห้” สถานการณ์นี้ได้สะท้อน ให้เห็นว่า แม้แต่กลุ่มผู้ดูแลที่ทำงานด้านจิตใจและการเยียวยาก็ยังมีมุมมองว่า ‘การร้องไห้’ เป็นเหมือนสิ่งแปลก ประหลาดที่ไม่ควรจะแสดงออกในห้องประชุมหรือพื้นที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม จากมุมมองของสุนทรียสนทนา การตระหนักรู้ถึงความรู้สึกและการยอมรับอารมณ์ใดๆก็ตามที่เกิดขึ้น นั่นคือการรับฟังเสียงภายในของตัวเองด้วย ความรักหรือการมีไมตรีกับตัวเอง

เริ่มต้นด้วยการผ่อนคลายกับร่างกาย

          กิจกรรม ‘สุนทรียสนทนา’ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพการรับฟังและการสื่อสารสำหรับผู้ดูแลแบบ ประคับประคองในชุมชน ประกอบด้วยกลุ่มผู้เข้าร่วมคือ เจ้าหน้าที่ Caregiver, อาสาบริบาลท้องถิ่น, อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 โดยมีอาจารย์เจิรญ สังข์ทอง เป็นวิทยากรครั้งนี้ กิจกรรมเริ่มด้วยการแนะนำชื่อเล่นและที่มาของชื่อเล่นว่ามาจากไหน ใครเป็นคนตั้งให้ และบอกถึงแรงบันดาลใจ ที่มาทำงานจิตอาสา กิจกรรมง่ายๆนี้เป็นเหมือนการเช็คอินเพื่อทำความรู้จักกับผู้เข้าร่วม แต่อีกด้านหนึ่งคือ การ สร้างความผ่อนคลายให้กับพื้นที่การเรียนรู้ หลังจากนั้นวิทยากรนำผู้เข้าร่วมให้ผ่อนคลายและสนิทสนมกันยิ่งขึ้น ผ่านเกมส์ผลัดกันนวด นั่นช่วยผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจให้พร้อมต่อการเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ 

วาดภาพบทสนทนากับเสียงภายในตัวเอง

          สุนทรียสนทนาในวันนี้แทนที่จะเรียนรู้หลักการว่า สุนทรียสนทนาคืออะไร มีแนวคิดอะไรบ้าง และทักษะ ที่ใช้เป็นอย่างไร วิทยากรกลับนำผู้ร่วมกิจกรรมเรียนรู้การรับฟังความคิด มุมมอง ความรู้สึก ความเป็นตัวเอง และพลังของหัวใจของตนเองผ่านกิจกรรมศิลปะการวาดภาพ โดยเริ่มต้นแต่ละคนจะได้รับกระดาษเปล่าสามแผ่น แผ่นแรก เริ่มต้นด้วยการวาดรูปมือที่ไม่ถนัด จากนั้น ‘กลางฝ่ามือ’ ให้วาดสัญลักษณ์แทนความเป็นตัวเอง เช่น รูปหัวใจ ดอกไม้ ดาว หรือแสงเทียน เป็นต้น

          หลังจากวิทยากรนำผู้เข้าร่วมจินตนาการทบทวนถึงประสบการณ์การทำงานจิตอาสา สำรวจความรู้สึก ข้อดีหรือจุดแข็งของตัวเอง ที่ทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคและทำงานได้สำเร็จ จากนั้นจึงให้ผู้เข้าร่วมวาดสัญลักษณ์แทน ข้อดีหรือจุดแข็งของตัวเองลงไปที่  ‘นิ้วทั้งห้า’  พร้อมทั้งระบายสีรอบๆฝ่ามือเพื่อสื่อสารถึงความรู้สึกต่องานอาสา หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เมื่อวาดเสร็จกระดาษแผ่นแรกจะได้รูปมือที่มีสัญลักษณ์และสีสันต่างๆแทนความเป็นตัวเองของผู้วาด หลังจากนั้นให้ฉีกเฉพาะรูปผ่ามือออกจากกระดาษแผ่นแรกแล้วนำไปแปะไว้บนกระดาษแผ่นที่สอง สำหรับส่วนที่ เหลือคือกรอบรอบมือของแผ่นแรกไปแปะบนกระดาษแผ่นที่สาม จากนั้นให้เขียนหรือวาดสัญลักษณ์แทนพลังใจ หรือพลังทางกายภาพ ที่ช่วยให้เราผ่านพ้นอุปสรรค์เหล่านั้นมาได้ลงในใจกลางฝ่ามือของกระดาษแผ่นที่สามด้วย กล่าวคือหลังเสร็จสิ้นกระบวนการผู้ร่วมกิจกรรมจะได้ผลงานศิลปะสองแผ่น จากนั้นวิทยากรได้เชื้อเชิญให้จับคู่ พูดคุยเล่าเรื่องและประสบการณ์ผ่านผลงานศิลปะ เพื่อฝึกการรับฟังโดยไม่ตัดสินและการรับฟังผู้อื่นด้วยหัวใจ

ไมตรี: หัวใจของการรับฟัง 

“การทำงานจิตอาสาเราเข้าไปรับฟังความทุกข์ของคนอื่น ผู้ป่วยหรือญาติที่อยู่กับการสูญเสีย เรารู้ว่าเขามีความทุกข์และเรารับฟังพวกเขา ความทุกข์ที่รับมาทำให้เราเป็นรู้สึกเหมือน “น้ำที่เต็มแก้ว” มันพร้อมจะหกได้ตลอดเวลาเมื่อมีอะไรมากระทบ และเมื่อเราเจอความทุกข์ของตัวเอง เราไม่รู้ว่าจะไป ระบายกับใคร เรารู้สึกอ่อนแอ กิจกรรมวันนี้ช่วยให้เราได้ปล่อยน้ำที่เต็มแก้วออกไปและได้กลับมาดูแล ใจตัวเอง” 

          ข้อความข้างต้นเป็นเสียงสะท้อนของผู้เข้าร่วมคนเดิมที่ร้องไห้ตอนเช็คอิน แต่ครั้งนี้ไม่มีเสียงบอกห้ามใด จากผู้ร่วมกิจกรรมคนอื่น กิจกรรมสุนทรียสนทนาได้นำผู้เข้าร่วมเข้าใจหัวใจสำคัญของการรับฟังคือการเปิดรับฟัง ทุกเสียงโดยไม่ตัดสิน การเปิดรับทุกความรู้สึก อารมณ์ ความคิด ทั้งของตนเองและของผู้อื่น รวมถึงการเปิดรับต่อ สถานการณ์ต่างๆให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริง กล่าวคือ เป็นการพัฒนาความอ่อนโยนต่อตัวเอง หรือที่เรียกว่า การมีไมตรีต่อตนเอง เพม่า โชดัน อธิบายว่า ไมตรีคือความเป็นมิตรอันไร้ขอบเขต การเรียนรู้ที่จะมีไมตรีต่อตัวเอง และการเรียนรู้ที่จะเคารพตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเราใส่ใจกับความคิดและอารมณ์ทั้งหลายด้วยใจอันเปิดกว้าง นั่นแหละคือการรับรู้ถึงจักรวาล ไม่ใช่แค่พูดถึงการปล่อยตัวเองในระดับปัจเจก แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือชุมชน ที่เราอาศัยอยู่ ครอบครัวของเรา รวมถึงโลกใบนี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของการเติบโต การมีความกรุณา และการเคารพ ต่อตนเองและสิ่งที่เราสัมพันธ์ด้วย น้ำตาของความเศร้าที่ไหลแต่เริ่มจึงได้ถูกเปิดรับด้วยความซื่อตรงและเบิกบาน เป็นสุนทรียสนทนาของการสื่อสารอันจริงแท้และอ่อนโยน ที่ผู้เรียนสัมผัสและเข้าใจผ่านประสบการณ์ตรง

[seed_social]

13 ธันวาคม, 2560

ชีวิตหลังความตาย

ผู้เขียนยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตายของตนเอง แต่เมื่อมีความตายเกิดขึ้น ก็ย่อมมีทั้งคนที่จากไปและคนที่อยู่ข้างหลัง วันนี้จะพูดถึงคนที่อยู่ข้างหลังกัน
19 เมษายน, 2561

แม่อุ้ยสม

“ความตายเป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนต้องตาย ตายเป็นรุ่นๆ ถึงจะรักและห่วงลูกหลานเพียงใด เมื่อถึงเวลาก็ต้องจากไป ชีวิตเป็นเรื่องของแต่ละคนที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เอาเอง”
19 เมษายน, 2561

เยียวยาด้วยใจรัก

“มีพบย่อมมีพลัดพราก หรือจากลา” เป็นคำที่เราคุ้นหู หรือได้ยินบ่อยๆ ซึ่งในยามปกติเราอาจจะไม่มีความรู้สึกใดๆ ต่อคำพูดนี้ หรืออาจจะรู้สึกว่า เออ ก็จริงนะ แต่เมื่อเกิดความสูญเสียกับเรา เราจะรู้สึกทันทีว่า “จริง”