สร้างสุขที่ปลายทาง
ปาฐกถา
และ วัตถุประสงค์

ผู้เขียน: กฤติน ลิขิตปริญญา หมวด: ชุมชนกรุณา


 

สร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 3 นโยบายส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แบบประคับประคอง และการแสดงเจตนาในช่วงท้ายของชีวิต

ในงานสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 นี้เกิดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ฯ หัวข้อการจัดงานในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า ชวน เข้าใจ ‘การตายดี’ ดันเครือข่ายพื้นที่ดูแล ‘ผู้ป่วยระยะท้าย’

นายแพทย์ประทีป คณธกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุม สร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 มี ใจความว่า แม้การดูแลรักษาแบบประคับประคองจะเริ่มแพร่หลายในสังคมไทยแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัด การประชุมในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อผลักดันการดูแล รักษาแบบประคับประคองให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง อีกทั้งยังมีมี วัตถุประสงค์ให้ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมต่างๆ เช่น ผู้บริหารส่วนกลาง ส่วน ภูมิภาค ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อทำให้เกิดการบูรณาการ การ ทำงานร่วมต่อไปในอนาคต อันจะนำมาซึ่งการขยายผลระยะยาวในวงการ การรักษาแบบประคับประคองต่อไป

ต่อมาอธิบดีกรมการแพทย์ สมศักดิ์ สรรฆศิลป์ ปาฐกถากล่าวเปิดงาน สร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 โดยเนื้อหาของปาฐกถาครั้งนี้ บรรจุไปด้วย พัฒนาการระบบการรักษาแบบประคับประคองในเมืองไทย สถิติข้อมูลที่ น่าสนใจ รวมไปถึงเป้าหมายของกรมการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข ยกตัวอย่างเช่น

- แพทย์หลายคนที่ยังกังวลใจเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยตาม Living will หรือ พินัยกรรมชีวิตให้คลายความกังวลดังกล่าวลงได้ เพราะศาลสูงสุดได้ ให้คำยืนยันรับรองแล้วว่า เป็นเรื่องที่สามารถทำได้หากแพทย์ดำเนินการ รักษาตามพินัยกรรมชีวิตของผู้ป่วย โดยมีกฎหมายมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพเมื่อปี 2550 รองรับ

- มีคนบนโลกราว 86 % ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการจากไปในวาระสุดท้าย อย่างสงบได้ และปรากฏมีถึง 98 เปอร์เซ็นของกลุ่มเด็กที่ต้องการวิธีการ รักษาแบบประคับประคองแต่เข้าไม่ถึง (รวมทั้งโลก) ประเทศไทยเมื่อเจ็ดปี ก่อน ก็เป็นประเทศที่ระบบการรักษาแบบประคับประคองไม่พัฒนาเติบโต เท่าที่ควรนัก แต่ปัจจุบัน Palliative Care ในไทยมีการดูแลที่บูรณาการ มากขึ้นและภาคอีสานคือภูมิภาคที่มีระบบบริการเชื่อมโยงมากกว่าภูมิภา คอื่นๆ โดยสะท้อนผ่านการใช้ยาบรรเทาปวดที่ภาคอีสานเข้าถึงได้ มากกว่าทุกพื้นที่

- ผู้ป่วยทุกกลุ่มที่เข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เนื้องอก ก็จัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องการการรักษาแบบประคับประคองเช่นกัน ทว่ากลุ่มที่เข้าถึงส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นคนไข้โรคมะเร็ง

- นอกจากนั้นแล้วคนไข้โรคมะเร็งยังเป็นกลุ่มคนที่เข้าถึงยาแก้ปวดอย่าง มอร์ฟีนได้มากที่สุดอีกด้วย

- เป้าหมายต่อไปของกระทรวงสาธารณสุขคือ การส่งเสริมการทำหนังสือ แสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาในช่วงท้ายของชีวิต และระบบสนับสนุน ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ.2550 มาตรา 12 ควบคู่ไปกับการ พัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองในทุกเขตสุขภาพทั่ว ประเทศ

- การเพิ่มการเข้าถึงยาบรรเทาปวด และเสริมทักษะการรักษาแบบประคับ ประคองไปสู่ผู้ดูแล (Carer) โดยความจำเป็นนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ จากหน่วยงานแทบทุกด้าน เช่น หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และจิตวิญญาณ อาสาสมัครในชุมชน สถานศึกษา รวมถึงครอบครัวหรือ ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายด้วย

- เป้าหมายอีกประการหนึ่งก็คือ การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายตามคุณภาพจะ ต้องตั้งมาตรฐานเอาไว้ว่า สามารถใช้ชีวิตในระยะท้ายได้อย่างสุขสบาย มี

ความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เมื่อต้องจากไป ก็จากไปอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - ขณะเดียวกัน บุคลากรสุขภาพก็คู่ควรที่จะได้ รับการดูแลให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

บุคคลสำคัญ : นายแพทย์ ประทีป คณะกิจเจริญ, เลขาธิการคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ, นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรฆศิลป์, อธิบดีกรมสุขภาพจิต

[seed_social]
25 เมษายน, 2561

สะสางสิ่งคาใจ ปลดเปลื้องภาระติดค้างเพื่อคนอยู่ข้างหลัง

เรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อให้ตายสงบ คือการได้สะสางสิ่งค้างคาใจจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ในช่วงที่มีชีวิตร่วมหรือเกี่ยวข้องกับผู้อื่น อาจมีเรื่องกระทบกระทั่งทำให้ผิดใจกัน
18 เมษายน, 2561

ความฝันกับความจริง

ศิลปะมีความน่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ โดยตัวศิลปะเองเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ได้อยู่กับตนเอง ได้ถ่ายทอดตัวตนที่อยู่ภายในออกมาเป็นผลงานภายนอกที่เป็นรูปธรรม ช่วยนำไปสู่การเข้าใจและเปลี่ยนแปลงตนเอง
18 เมษายน, 2561

อุบัติเหตุ อุบัติธรรม

อริยสัจสี่เห็นเลยว่ามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อย่างไร คือไม่ถึงกับว่าหลุดพ้น แต่อย่างน้อยเราเข้าใจกระบวนการเกิดทุกข์ เพียงแต่สติเรายังไม่มากพอที่จะชึบๆๆ ยังไม่คมพอ ปัญญาเรายังไม่เฉียบคมพอ ต้องลับไปเรื่อยๆ