parallax background
 

ก้าวต่อไปของกฎกระทรวง
เรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาฯ

ผู้เขียน: ไพศาล ลิ้มสถิตย์ กองสาราณียกร หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

จากกรณีความเคลื่อนไหวในการผลักดันกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๒ ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ที่เรียกว่า “หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษา” หรือ living will นั้น

หลังจากร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคมที่ผ่านมา และได้เตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเดือนพฤศจิกายนเพื่อขอความเห็นชอบในหลักการ คาดว่าจะออกประกาศเป็นกฎกระทรวงได้ภายในต้นปี ๒๕๕๓ เป็นอย่างเร็ว

โดยในการดำเนินงานก่อนหน้า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดเวทีประชาพิจารณ์ใน ๔ ภูมิภาค คือ ภาคใต้ ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สงขลา - ภาคเหนือ ณ โรงพยาบาลมหาราชฯ เชียงใหม่ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น - ภาคกลาง กรุงเทพฯ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายแพทย์ พยาบาล คนทำงานในห้องไอซียู ห้องฉุกเฉิน ฯลฯ มีผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์เวทีละประมาณ ๑๐๐ คน โดยมีแกนนำชาวบ้าน ญาติผู้ป่วยที่สนใจเข้าร่วมด้วย พร้อมกันนั้น สช.ยังได้ดำเนินการรับฟังความเห็นทางจดหมายไปทางมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์ศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๗๐๐ กว่าแห่ง

ผลการทำประชาพิจารณ์และรับฟังความคิดเห็นโดยสรุป ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เห็นชอบโดยหลักการในร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เพราะเห็นว่าจะทำให้แพทย์ พยาบาลเกิดความสบายใจและมั่นใจในการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยอาจเพิ่มรายละเอียดบางอย่างเข้าไปในกฎกระทรวงให้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งกฎหมายยังให้ความคุ้มครองแพทย์ พยาบาลไว้ด้วย

สช. ร่วมกับศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประสานงานกับโรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ ที่จะปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่จะมีผลใช้บังคับในเร็วๆ นี้ เช่น โรงพยาบาลศิริราช สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลสงฆ์ ฯลฯ โดยจะเผยแพร่ความรู้ จัดอบรมทำความเข้าใจกับแพทย์ พยาบาล ในเรื่องมาตรา 12 และกฎกระทรวง รวมทั้งพัฒนาคู่มือหรือแนวปฏิบัติสำหรับแพทย์ พยาบาลในเรื่องนี้

ในส่วนของประชาชนทั่วไปนั้น แพทย์ พยาบาลจะเป็นสื่อกลางการให้ความรู้กับผู้ป่วยรวมถึงญาติที่มารักษาที่โรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มะเร็ง เบาหวาน จะรับทราบข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ เพื่อทำความเข้าใจว่าการทำหนังสือปฏิเสธการรักษาเป็นสิทธิผู้ป่วยอย่างหนึ่ง หากการรักษานั้นเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นหรือมีผลเสียมากกว่าผลดี แพทย์มิได้ทอดทิ้งผู้ป่วย ยังให้การดูแลรักษาตามอาการ อนึ่งในเดือนพฤศจิกายนนี้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะจัดสัมมนาให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของกระทรวง พม. แกนนำชาวบ้านที่ทำงานเรื่องผู้สูงอายุประมาณ ๒๐๐ คน เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นอีกทางหนึ่งด้วย

Living will สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

[seed_social]
9 พฤษภาคม, 2561

โรงเรียนสัปเหร่อ

ไม่รู้ว่าบ้านเรามีหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ เยอรมนี แดนเบียร์ไส้กรอกอร่อย มีโรงเรียนสัปเหร่อ แห่งเดียวของยุโรป โดยชาวเยอรมันเข้าฝึกหัดการเป็นสัปเหร่อ
20 เมษายน, 2561

มหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ เปิดสอนปริญญาเอกด้านการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นแห่งแรกของโลก

มหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ (Lancaster University) เปิดรับนักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการดูแลแบบประคับประคองเป็นแห่งแรกของโลก จำนวน ๑๖ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓
17 เมษายน, 2561

นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายฯ จี้ สปสช. ผลักดัน Palliative Care เข้าไปอยู่ในระบบ ๓๐ บาท

เมื่อเร็วๆ นี้ พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายแห่งประเทศไทย กล่าวในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้