ผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นหรือพัฒนาชุมชนกรุณา สามารถทำได้ทันทีตามความถนัด ความสนใจของแต่ละคนหรือกลุ่มสมาชิก ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลสมาชิกในชุมชนที่เผชิญกับความเจ็บป่วย การตาย การสูญเสีย ฯลฯ บนพื้นฐานของความกรุณา ไม่จำกัดรูปแบบหรือประเภท
สำหรับผู้ที่อยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการพัฒนาชุมชนกรุณา กลุ่ม Peaceful Death มีคลังความรู้ที่อาจเป็นตัวอย่างการเริ่มต้นชุมชนกรุณา ดังนี้
1. แนวคิดชุมชนกรุณาและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
- ที่มาและแนวคิดชุมชนกรุณา หรือดูคลิปวิดีโอ ชุมชนกรุณา: แนวคิดและปฏิบัติการภาพรวมชุมชนกรุณาในสังคมไทย | ทำความเข้าใจที่มาและแนวคิดของชุมชนกรุณา รวมถึงแนวทางการพัฒนาชุมชนกรุณา
- วงล้อมแห่งการดูแล (Circles of Care) | โมเดลสำคัญของการพัฒนาชุมชนกรุณา ด้วยการส่งเสริมให้วงล้อมต่างชั้นต่างๆ ของการดูแลมีความสามารถ มีความรู้ และทักษะที่ตอบสนองต่อการดูแลผู้ป่วยและองคาพยพ
- The New Essential: Palliative Care เราจะช่วยให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองได้อย่างไร | การดูแลแบบประคับประคองเป็นรูปแบบหนึ่งการของการดูแลคุณภาพชีวิตช่วงท้ายผู้ป่วยและครอบครัว และการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองยังเป็นสิทธิ์พื้นฐานที่ทุกคนพึงได้รับ บทความชิ้นนี้นำเสนอว่าหากต้องการให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองต้องมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ที่ต้องไปด้วยกัน
- เรื่องของบัว: เรื่องเล่าสื่อสารชุมชนกรุณา หรือดูคลิปวิดีโอ เรื่องเล่าของบัว | นิทานสั้นช่วยสื่อสารและสร้างแรงบันดาลใจชุมชนกรุณา สามารถหยิบยกไปเล่าให้กับสมาชิกและเครือข่ายที่อยากร่วมงาน เพื่อจุดประกายการพัฒนาชุมชนกรุณา ดาวน์โหลดไฟล์ภาพเรื่องเล่าของบัวได้ที่นี่ https://cocofoundationthailand.org/wp-content/uploads/2022/03/Buas-story.pdf
2. ตัวอย่างการพัฒนาชุมชนกรุณาในไทย
กระบวนกรชุมชน จุดคานงัดของชุมชนกรุณา
- พัฒนากระบวนกรชุมชน เริ่มต้นชุมชนกรุณากับ Peaceful Death | กระบวนกรชุมชนคือส่วนสำคัญของการพัฒนาชุมชนกรุณา เป็นผู้เชื่อมโยงการดูแล ข้อมูล และเครือข่าย สร้างพื้นที่การเรียนรู้การอยู่และตายดีในชุมชนแล้ว กระบวนกรชุมชนยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชุมชนกับระบบสุขภาพ ทำให้คนในชุมชนเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง ตั้งแต่ปี 2561 มีกระบวนกรชุมชนที่ผ่านการอบรมมากกว่า 400 คน ชวนดูผลลัพธ์ของพัฒนากระบวนกรชุมชนในคลิปวิดีโอนี้
- CoCoFa CoCoFriend | Podcast รวมเรื่องเล่าของเพื่อนกระบวนกรชุมชน ที่พัฒนาชุมชนกรุณาในหลากหลายพื้นที่และหลายรูปแบบ สามารถเลือกฟังได้ตามบริบทที่ใกล้เคียงหรือความสนใจ อาทิ ชุมชนกรุณาในชุมชน โรงเรียน ธุรกิจเพื่อสังคม หรือกลุ่มเป้าหมายของการดูแล เช่น นักเรียน ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุ บุคลากรสุขภาพ อาสาสมัครสุขภาพ ฯลฯ
ชุมชนกรุณาที่นำโดยสมาชิกในชุมชน นักกิจกรรม จิตอาสา
- ชุมชนกรุณาเชียงราย | ชุมชนกรุณาใน ต.แม่พริก อ. แม่สรวย จ.เชียงราย นำโดยคุณเจนจิรา โลชา สมาชิกในชุมชนที่กลับบ้านเกิดเพื่อเตรียมความพร้อมการตายดีของตัวเองและชุมชน ด้วยการเชื่อมโยงการดูแลระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลในพื้นที่
- ชุมชนกรุณาลำปาง | ชุมชนกรุณาที่เกิดจากการรวมตัวของจิตอาสาหลากหลายสาขาอาชีพและความถนัด มาร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อผู้ป่วยและญาติ เช่น ประดิษฐ์สิ่งของ เล่านิทาน ปลูกไม้ประดับ หรือกระบวนการพูดคุยเพื่อคลายทุกข์ ความกังวลใจของผู้ป่วยและญาติ
- ชุมชนกรุณาเชียงใหม่ | ชุมชนกรุณาที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ที่เปิดพื้นที่เรียนรู้เรื่องการอยู่ดีและตายดีเครื่องมือการเรียนรู้ของกลุ่ม Peaceful Death เช่น สมุดเบาใจ เกมไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย การวางแผนดูแลล่วงหน้า อันช่วยสนับสนุนการดูแลสุขภาพช่วงท้ายอย่างมีคุณภาพ
- ชุมชนกรุณาอุบลราชธานี | ตัวอย่างปฏิบัติการชุมชนกรุณาจากกลุ่มคนที่สนใจและสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน โดยการออกแบบหลักสูตร “วิชาธรรมชาติของชีวิต” การเรียนรู้เรื่องการดูแลความเจ็บป่วย การตาย และความสูญเสียในเยาวชน
- I SEE U I กลุ่มอาสาเยียวยาจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย นำโดยคุณอรุณชัย นิติสุพรรัตน์ เปิดรับสมัครและจัดอบรมอาสาสมัครให้มีทักษะการเยี่ยมผู้ป่วยในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จัดกิจกรรมสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และให้กำลังใจบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ชุมชนกรุณาที่นำโดยบุคลากรสุขภาพ
- ชุมชนกรุณาพะตง | ชุมชนกรุณาใน ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นำโดยหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่อย่างสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ พะตง ที่พัฒนาเครือข่ายการดูแลที่เข็มแข็งในชุมชนด้วยการจัดฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นให้กับบุคลากรสุขภาพและ อสม. ทุกคน และการพัฒนาความร่วมมือที่สอดคล้องกับความต้องการและจำเป็นของผู้ป่วยและครอบครัว บนพื้นฐานของความกรุณา
- ชุมชนกรุณาบางรัก | ชุมชนกรุณาในเขตเมืองกรุงเทพฯ นำโดยบุคลากรสุขภาพจากโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เชื่อมโยงการดูแลร่วมกับชุมชนบางรักในช่วงวิกฤติโควิด-19 เมื่อสถานการณ์โควิดคลายลง ชุมชนและโรงพยาบาลสนใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและครอบครัวเพิ่มเติม ด้วยการทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน พูดคุยวางแผนเรื่องการดูแลสุขภาพล่วงหน้า เริ่มจากชุมชนคริสตจักรสู่สมาชิกในชุมชนที่กว้างออกไป
- ชุมชนกรุณานครสวรรค์ | ชุมชนกรุณาในพื้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ นำโดยบุคลากรสุขภาพจากศูนย์ผู้สูงอายุเขาทอง ในสังกัดศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้ศูนย์ผู้สูงอายุเป็นพื้นที่เรียนรู้ของเครือข่ายการดูแลที่ไม่เป็นทางการ เชื่อมโยงกับเครือข่ายในพื้นที่อย่างชุมชน วัด และท้องถิ่น มาร่วมกันเสริมศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะท้ายในชุมช
ชุมชนกรุณาที่นำโดยผู้นำศาสนา
- ชุมชนกรุณาห้วยยอด | ชุมชนกรุณาในพื้นที่ ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง นำโดยพระกฤษดา ขันติกโร จากวัดห้วยยอด ชมรมชายผ้าเหลืองเพื่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เริ่มต้นจากการเยี่ยมผู้ป่วยระยะท้ายและผู้ป่วยติดเตียงที่โรงพยาบาล และขยายการเชื่อมโยงกับชุมชนห้วยยอดและหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ทั้งเทศบาล โรงเรียน
- สันติภาวัน | สถานพำนักสำหรับพระภิกษุอาพาธระยะท้าย จ.จันทบุรี มีพระสงฆ์และทีมจิตอาสาช่วยผู้ดูแลอำนวยความสะดวก เพื่อให้ภิกษุอาพาธระยะท้ายได้ใช้ชีวิตช่วงท้ายพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต และละสังขารอย่างสงบ ตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา
ชุมชนกรุณาในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม
- พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล เป็นธุรกิจเพื่อสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยวรรณวิภา มาลัยนวล หรือครูอ๊อด ผู้มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยในบ้านมาหลายสิบปี จัดให้บริการพาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล และจัดกิจกรรมดูแลและช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วย เป็นการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลในครอบครัว ขณะเดียวกันก็ได้ฝึกฝนความกรุณาจากการให้บริการด้วย
- เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย และการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ก่อตั้งโดย ศ.นพ.ดร. อิศรางค์ นุชประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและชีวาภิบาล และผู้อำนวยการโครงการ