peacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeath
  • บทความ
  • ชุมชนกรุณา
    • Podcast
    • เรื่องเล่ากระบวนกรชุมชน
  • ดูแลใจผู้สูญเสีย
  • กิจกรรม
  • ข่ายใยมิตรภาพ
    • หน่วยบริการประคับประคองใกล้บ้าน
  • Download
  • Shop
  • ติดต่อเรา
  • English Version
✕

ห้องสมุดแมวหางกินส์

Podcast
การเรียนรู้นอกห้องเรียน, กิจกรรม, ความตาย, องสมุด, เด็ก
 
7272163-1623566355923-3f50beaa7bd73
 
listen-on-google-podcasts-logo-1

คลิกเพื่อฟังเสียง

ห้องสมุดแมวหางกิ้นส์ ห้องสมุดขนาดเล็ก พื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ตั้งอยู่ที่อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี โดยคุณวลัยพร วังคะฮาด และแฟน ซึ่งชื่นชอบหนังสือ มีหนังสือจำนวนมาก พร้อมทั้งเป็นนักกิจกรรมเยาวชนและเคยจัดกิจกรรมที่ชุมชนแห่งนี้ จึงต่อยอดสร้างห้องสมุดขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับให้เด็กหรือผู้สนใจเข้ามาทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศิลปะ การปลูกพืช คุณค่าของสิ่งแวดล้อม ภาษาอังกฤษ รวมถึงทักษะด้านอื่นๆ ที่อาจจะไม่มีสอนในห้องเรียน

ประเด็นหนึ่งที่ห้องสมุดนำมาทำเป็นกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ คือ เรื่องความตาย ซึ่งเป็นความสนใจส่วนตัวของคุณวลัยพรที่มองว่าความตายเป็นเรื่องใกล้ตัว และมีโอกาสเรียนรู้เรื่องชีวิตและความตายเพิ่มเติมจากทาง Peaceful Death ผ่านไพ่ฤดูฝน ไพ่รุ้ง จนกลายเป็นแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารเรื่องความตายให้กับผู้รับสารที่เป็นเด็กโดยใช้นิทาน เช่น แมวน้อยร้อยหมื่นชาติ แล้วชวนพูดคุย ตั้งคำถาม เพื่อให้เด็กคิดเชื่อมโยงเนื้อหาในนิทานเข้ากับชีวิตของตัวเอง เช่น หากเกิดการสูญเสียจะจัดการกับอารมณ์อย่างไร เป็นต้น ผลของกิจกรรมนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม หากเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมกับห้องสมุดเป็นประจำหรือที่เรียกว่ากลุ่มทดลอง จะเห็นผลชัดเจน สัมผัสได้ว่าเด็กกลุ่มนี้มีความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงสารที่ได้รับเข้ากับชีวิตของตนเองได้ เพราะเด็กมีความคุ้นชินกับกระบวนการเรียนรู้ที่ให้แสดงความคิดเห็น ส่วนกลุ่มอื่นๆ มีผลตอบรับไม่ชัดเจนนักเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น เวลาทำกิจกรรมมีจำกัดเพียง 2-3 ชั่วโมง อาจไม่เพียงพอต่อการคิดในเชิงลึก เป็นต้น

คุณวลัยพรมองว่าตัวเด็กเองไม่ได้มีปัญหากับการเรียนรู้เรื่องความตาย เพราะพวกเขาพร้อมเปิดรับความรู้ต่างๆ เพียงแต่ควรทำกระบวนการเรียนรู้ให้สนุก จูงใจ และเนื้อหาไม่ยากเกินไป ปัญหาการพูดคุยเรื่องความตายจริงๆ แล้วอยู่ที่บริบทของสังคมมากกว่าที่มองว่าความตายเป็นเรื่องไม่ดี ไม่ควรพูดถึง อย่างไรก็ตาม คุณวลัยพรเล็งเห็นจุดที่ตนเองจะต้องเรียนรู้และระวังเรื่องการสื่อสารกับเด็กให้มากขึ้น เนื่องจากการพูดเรื่องความตายอาจส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำการต่างๆ จึงควรเน้นย้ำให้ชัดเจนว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็ไม่ควรโยนทิ้งชีวิต เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

กิจกรรมของห้องสมุดแมวหางกิ้นส์ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เรื่องความตาย สิ่งหนึ่งที่ห้องสมุดผลักดันคือ เรื่องวรรณกรรม การอ่าน และกิจกรรมอื่นๆ ที่หลากหลายและสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมที่ทำร่วมกับวัยรุ่นจะมีประเด็นและรายละเอียดแตกต่างจากเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ กล่าวคือไม่มุ่งเน้นเรื่องความตาย เพราะเป็นช่วงวัยที่ต้องการแรงเสริมในการทำตามความฝันและมุ่งไปข้างหน้า จึงต้องทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นให้มุ่งไปข้างหน้าหรือการอยู่ดีให้มากขึ้น แต่ประเด็นเรื่องการตายดียังคงเป็นประเด็นที่ทางห้องสมุดจัดทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีเครื่องมือที่จะช่วยดูแลใจผู้ที่ประสบปัญหาได้ และการเข้าไปดูแลจิตใจผู้คนในชุมชนด้วยความกรุณาเป็นการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ของคุณวลัยพรให้ลึกซึ้งขึ้น

ผู้สนใจกิจกรรมของห้องแมวหางกิ้นส์ สามารถติดตามหรือสอบถามข้อมูลได้ที่เพจ ห้องสมุดแมวหางกิ้นส์ (www.facebook.com/juiorn) หรือเฟซบุ๊ก Katawut Jui


วันที่ออกอากาศ: 13 มิถุนายน 2564
ผู้เรียบเรียง:
สุรพิน อยู่สว่าง

 

เรื่องเล่าที่น่าสนใจ

This is the title

  • 10 พฤษภาคม, 2564

    ชุดศิลปะดูแลใจ


    Read more
  • 27 ธันวาคม, 2563

    จิตอาสาเมืองน้ำดำ กรณีการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์


    Read more
  • 24 สิงหาคม, 2563

    ชุมชนกรุณาเชียงราย กับเจนจิรา โลชา


    Read more
  • 6 กันยายน, 2563

    CoCoFa ชุมชนกรุณา กับเอกภพ สิทธิวรรณธนะ


    Read more
  • 24 มกราคม, 2564

    ถอดบทเรียนกระบวนกร


    Read more
peaceful death
เรียนรู้ความตาย เข้าใจชีวิต

เมนูลัด

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • กิจกรรม
  • ร้านค้าบน Shopee
  • Download
  • ข่ายใยมิตรภาพ
  • เกี่ยวกับเรา
  • งานศึกษาวิจัย
  • ติดต่อเรา

คอลัมน์บทความ

  • ชุมชนกรุณา
  • How to
  • ประสบการณ์ชีวิต
  • รีวิวสุนทรียะในความตาย
  • อาสามีเรื่องเล่า
  • ในชีวิตและความตาย
  • ชีวิตเบ็ดเตล็ด
  • อาทิตย์อัสดง

ซื้อสินค้า

ติดตามเรา

Creative Commons License

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน
ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า

    ✕

    เข้าสู่ระบบ

    คุณจำรหัสผ่านไม่ได้?