parallax background
 

สนทนาเรื่องความตายด้วยเกม
“เดาใจฉันหน่อยสิ”

ผู้เขียน: เอกภพ สิทธิวรรณธนะ หมวด: How to


 

ต่อไปนี้คือเกมเปิดประเด็นสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย

• ผู้เล่นสองคน (หรือมากกว่า) ผลัดกันเดาใจกันว่า หากเกิดวิกฤติของชีวิต แต่ละฝ่ายอยากได้รับการปฏิบัติอย่างไร
• ผู้นำเล่นหาโอกาสเหมาะๆ ในการเล่นเกมเดาใจ เช่น ขณะเผชิญรถติดอยู่ด้วยกันสองคน ขณะพักทานน้ำชายามบ่ายสบายๆ เป็นต้น
• ผู้นำเล่น ถามคำถามให้เดาใจ เช่น “ถ้าวันหนึ่ง เธอรู้ข่าวร้ายจากหมอก่อนหน้าฉัน ว่าฉันป่วยหนัก รักษาไม่หาย ถึงระยะสุดท้ายของชีวิต เธอคิดว่าฉันอยากรู้ข่าวนั้นไหม?”
• ผู้นำเล่นเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายเดาคำตอบ พร้อมเหตุผล จากนั้นจึงเฉลยคำตอบว่า แท้จริงแล้วตนอยากได้รับการปฏิบัติอย่างไร
• จากนั้นผู้นำเกมและอีกฝ่ายสลับบทบาทกัน ตอบคำถามเดียวกัน และฟังคำเฉลย
• ด้วยวิธีนี้ ไม่ว่าคู่สนทนาจะเดาใจกันถูกหรือไม่ แต่สิ่งที่จะได้แน่ๆ คือ ได้แลกเปลี่ยนความต้องการของกันและกัน ผ่านสมมติกรณีวิกฤติแบบต่างๆ
• ผู้นำเกมอาจเปลี่ยนคำถามเดาใจในแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม เช่น...

- ถ้าเช้าวันหนึ่ง เธอพบฉันนอนยิ้ม หลับตาพริ้มอยู่ แต่ปรากฏว่าฉันหยุดหายใจไปแล้ว แม้ตัวยังอุ่นอยู่ เดาใจฉันซิว่า ฉันอยากให้เธอพาฉันไปโรงพยาบาล หรือฉันอยากจะหลับตายไปตอนนั้นเลย
- ถ้าฉันป่วยหนัก รักษาไม่หาย แล้ววันหนึ่งฉันเกิดหมดสติ หัวใจหยุดเต้น เดาใจฉันซิว่าฉันอยากได้รับการกู้ชีพ ปั๊มหัวใจ ใส่ท่อฯ หรือไม่
- ถ้าอยู่ดีๆ ฉันก็ตายจากไป เดาใจฉันซิว่า ฉันเป็นห่วงอะไรมากที่สุด
- เดาใจฉันซิ ว่าฉันอยากให้เธอจัดงานศพของฉันในรูปแบบใด

[seed_social]
19 เมษายน, 2561

เมื่อผู้สูงอายุพูดถึงความตาย ทำอย่างไรดี

 บางครั้ง ที่ผู้สูงอายุเปรยสิ่งเหล่านี้ ก็เพราะมีสิ่งกังวล มีธุระคั่งค้างที่อยากสะสาง หรือมีความปรารถนาส่วนลึกที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง
24 มกราคม, 2561

ขึ้นฉ่าย-กระเทียม ลดความดัน ป้องกันโรคหลอดเลือด

สองปีที่ผ่านมา คนในครอบครัวของผู้เขียนสองคนต้องเผชิญกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ คนหนึ่งคือพ่อ อยู่ๆ ก็เกิดอาการแขนซ้ายอ่อนแรง ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด ส่วนอีกคนหนึ่งคือน้องเขย
21 ธันวาคม, 2560

ระบบดี งานเดิน

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในอาทิตย์อัสดงฉบับก่อนๆ ได้พูดถึงแนวคิดของการเป็นหุ้นส่วน วิธีการสร้างทีม วิธีการสร้างสัมพันธภาพในแนวราบ