peacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeathpeacefuldeath
  • บทความ
  • ชุมชนกรุณา
    • Podcast
    • เรื่องเล่ากระบวนกรชุมชน
  • ดูแลใจผู้สูญเสีย
  • กิจกรรม
  • ข่ายใยมิตรภาพ
    • หน่วยบริการประคับประคองใกล้บ้าน
  • Download
  • Shop
  • ติดต่อเรา
  • English Version
✕

ชุมชนกรุณาลำปาง

Podcast
การรับฟัง, จิตอาสา, ชุมชนกรุณาลำปาง, มีใจ space, สุธีลักษณ์ ลาดปะละ
 
7272163-1604807013603-a6eab2aef4c28
 

คุณอิ้น สุธีลักษณ์ ลาดปะละ กระบวนกรอิสระ มีประสบการณ์จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้เพื่อเข้าใจตัวเองและใจผู้อื่น การค้นหาความหมายของชีวิต การเตรียมตัวระยะท้ายของชีวิต และยังเปิดร้านขนมเล็กๆ อยู่ที่จังหวัดลำปางร่วมกันกับเพื่อนๆ เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ชื่อ “มีใจ space” 

“มีใจ space” “เริ่มต้นจากความอยากทำของเธอ จึงชวนเพื่อนๆ และคนที่สนใจมาเป็นพี่เลี้ยง กับบอกต่อจนขยายเครือข่ายไปเรื่อยๆ เพราะการมีประสบการณ์เป็นกระบวนกรที่เสมสิกขาลัย ทำเรื่องการเข้าใจตัวเอง ทำให้คุณอิ้นเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเองและการส่งผลกับคนใกล้ตัว จึงเห็นว่าการเรียนรู้ภาวะด้านในของตัวเองเป็นเรื่องมีประโยชน์ และการเข้าถึงเรื่องการอยู่ดี ตายดี การเข้าใจตนเองและการเข้าใจคนอื่น เป็นเรื่องยากในต่างจังหวัด เนื่องจากคอร์สอบรมมักจะจัดอยู่ในแต่กรุงเทพฯ คนต่างจังหวัดต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหากต้องการเข้าร่วมกิจกรรม การตัดสินใจกลับมาอยู่ลำปางของคุณอิ้น คือการกลับมาเชื่อมโยงกับครอบครัว และความต้องการสร้างสังคมที่เผยแพร่เรื่องการอยู่ดีตายดีในจังหวัดลำปาง 

จากการทำพื้นที่เรียนรู้ในต่างจังหวัดพบว่า คนต่างจังหวัดจะใกล้ชิดกับความเจ็บป่วยและความตายมากกว่าคนในเมือง สังคมชนบทยังพึ่งพาอาศัยกันในระดับหนึ่ง คนเจ็บคนป่วยยังมีญาติคอยดูแล แต่ยังมีความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาล การเตรียมตัวตายน้อยอยู่ การชักชวนมาเรียนรู้เรื่องดังกล่าวจึงต้องอธิบายค่อนข้างมาก เพราะมีค่านิยมไม่พูดคุยเรื่องความตายในชีวิตประจำวัน ประกอบกับสังคมต่างจังหวัดมักจะมีการหลอกไปฝึกอบรมเพื่อขายของ "มีใจ space" จึงต้องปรับการดำเนินกิจกรรมให้คนในพื้นที่เปิดใจ และอาศัยคนในพื้นที่เป็นกระบอกเสียงในการบอกต่อๆ กัน

ผลตอบลัพธ์จากการทำกิจกรรมคือ เครือข่ายที่ขยายตัวและบอกต่อเรื่องการสร้างพื้นที่ “ชุมชนกรุณา” ที่ชัดเจนสุดคือ “จิตอาสา” ดูแลผู้ป่วยได้เรียนรู้และได้ประโยชน์จากกิจกรรม ผู้ดูแลได้รับการสนับสนุนเสริมพลัง มองเห็นอุปสรรคและความยากลำบากของบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย มีโอกาสรับฟังกัน ให้กำลังใจกัน จึงเป็นประโยชน์ทั้งจิตอาสา ผู้ป่วย ผูดูแล และบุคลากรทางการแพทย์ 

จิตอาสาที่เข้าร่วมจะมีความถนัดหลากหลาย บางคนถนัดเล่านิทาน บางคนถนัดปลูกต้นไม้ การนำความถนัดมาร่วมแบ่งปันให้แก่คนอื่น ทำให้พวกเขามีกำลังใจในการใช้ชีวิต จิตอาสาบางคนที่ทำงานเหนื่อยจนไม่มีเวลาเล่านิทานให้ลูกฟัง เมื่อได้ดูแลผู้ป่วยเด็กและเห็นครอบครัวของเขา ทำให้เห็นพลังแห่งความทุ่มเทและรู้สึกโชคดีที่ลูกของตัวเองยังแข็งแรง ทำให้ทัศนคติในการใช้ชีวิตหรือมุมมองต่อลูกเปลี่ยนไปในทางบวก 

สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นสร้างเครือข่ายจิตอาสา คือการชวนพูดคุยหลังการทำกิจกรรม เพราะการถ่ายทอดความคิดของตนเองออกไปและมีโอกาสรับฟังคนอื่น จะช่วยต่อยอดความคิด เกิดความเบิกบานหรืองอกงาม มองเห็นความงามของสิ่งที่ตัวเองทำและช่วยสร้างพลังร่วม เกิดกำลังใจในการสร้างประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และส่งต่อไปให้คนอื่นๆ


วันที่ออกอากาศ: 8 พฤศจิกายน 2563
ผู้เรียบเรียง:
ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ

 

เรื่องเล่าที่น่าสนใจ

  • 4 กรกฎาคม, 2564

    ยากันซึม กับเจนจิรา


    Read more
  • 25 เมษายน, 2564

    ห้องสมุดผีเสื้อ


    Read more
  • 31 พฤษภาคม, 2564

    เล่าความตายผ่านการ์ตูน


    Read more
  • 11 เมษายน, 2564

    ชุมชนกรุณาออนไลน์ ก.กรุณา


    Read more
  • 14 มีนาคม, 2564

    ธนาคารเวลา


    Read more
peaceful death
เรียนรู้ความตาย เข้าใจชีวิต

เมนูลัด

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • กิจกรรม
  • ร้านค้าบน Shopee
  • Download
  • ข่ายใยมิตรภาพ
  • เกี่ยวกับเรา
  • งานศึกษาวิจัย
  • ติดต่อเรา

คอลัมน์บทความ

  • ชุมชนกรุณา
  • How to
  • ประสบการณ์ชีวิต
  • รีวิวสุนทรียะในความตาย
  • อาสามีเรื่องเล่า
  • ในชีวิตและความตาย
  • ชีวิตเบ็ดเตล็ด
  • อาทิตย์อัสดง

ซื้อสินค้า

ติดตามเรา

Creative Commons License

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน
ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า

    ✕

    เข้าสู่ระบบ

    คุณจำรหัสผ่านไม่ได้?