parallax background
 

จะเริ่มต้นพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติ
ได้อย่างไร ควรจะเริ่มต้นตอนไหน?

ผู้เขียน: พระไพศาล วิสาโล และคณะ หมวด: ประสบการณ์ชีวิต


 

คำถาม : ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติได้อย่างไร ควรจะเริ่มต้นตอนไหน?

พระไพศาล วิสาโล :
๑. เตรียมใจตนเองให้มีเมตตาอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้อภัยและช่วยเหลือ (กรุณา) โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
๒. รับฟังผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ไว้วางใจ เป็นเพื่อน จริงใจ
๓. เข้าใจปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้น ๕ อย่างคือ ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า และยอมรับ รวมทั้งมีความรู้ทักษะในการดูแลทางกายภาพ (ศาสตร์ และศิลป์)
๔. ตั้งคำถามเปิดให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกและระบาย
๕. สัมผัสแสดงความรู้สึกอย่างอ่อนโยนเหมาะสม

คำถาม : เทคนิคในการประเมินการเข้าหาผู้ป่วยแค่ไหนจึงจะพอดี พอเหมาะในการพูดคุย

พระไพศาล วิสาโล :
ประเมินสภาพทางร่างกายก่อน เช่น ลดอาการเจ็บปวดก่อน จึงมาพิจารณาเรื่องความเจ็บปวดทางใจ

คำถาม : การรับปากหรือการให้สัญญา ควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม

พระไพศาล วิสาโล :
รับฟังก่อน ตั้งคำถามให้ผู้ป่วยคิดเอง ก่อนถามว่าต้องการทำอะไร หรือถามว่าต้องการให้เราช่วยอะไรบ้าง ไม่ควรรับปากสิ่งที่ทำไม่ได้ ให้ข้อมูลความช่วยเหลือเท่าที่เราทราบ หรือขอเวลาก่อนในการหาข้อมูล

[seed_social]
19 เมษายน, 2561

สูญเสีย ไม่สูญเปล่า

ม.ล.สุภาสินี จรูญโรจน์ คุณครูการศึกษาพิเศษ มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง เคยผ่านประสบการณ์การสูญเสียคุณพ่ออย่างกะทันหัน และเสียน้องสาวจากโรคมะเร็งในสมองทั้งๆ ที่ก่อนหน้าจะป่วยน้องสาวเธอเป็นคนแข็งแรงและดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ความสูญเสียทั้งสองครั้งแม้ยากจะทำใจ
16 กุมภาพันธ์, 2561

ความรักที่ไม่เคยหายไปไหน

เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นในค่ำคืนหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ผมหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู เป็นเบอร์ของน้องหนุ่ม (นามสมมติ) ย้อนกลับไปประมาณ ๒-๓ ปี น้องหนุ่มเคยนอนรอความตายจากโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ผู้เป็นแม่เฝ้าดูแลหน้าห้องไอซียูด้วยความหวัง
9 พฤษภาคม, 2561

ค่ำวันหนึ่ง

ค่ำวันหนึ่ง อยู่ๆ การล้มป่วยก็เกิดขึ้นกับฉัน โดยที่ยังไม่ทันได้ตั้งตัวเลยด้วยซ้ำ ฉันเพียงแต่ยืนคุยอยู่ข้างเตียงเพื่อนที่นอนป่วยอยู่ในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ฉันยืนคุยได้เพียงแค่ครู่เดียว ครู่เดียวเท่านั้น