parallax background
 

ความล่าช้าของกฎกระทรวงฯ
มาตรา ๑๒

ผู้เขียน: ไพศาล ลิ้มสถิตย์ หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

เป็นเวลากว่า ๖ เดือนแล้ว (ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๓) ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๒ ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่องการทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย หรือ Living Will แต่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวยังค้างอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะมีหนังสือจากแพทยสภาและหน่วยงานแห่งหนึ่ง ที่เสนอขอแก้ไขบางประเด็น ทั้งๆ ที่ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ทำให้ขั้นตอนการประกาศใช้ต้องล่าช้าออกไป

เพื่อคลายความกังวลในเรื่องดังกล่าวจึงขอชี้แจงว่า ผู้ป่วยสามารถทำหนังสือ Living Will และมีผลตามกฎหมายแล้วตามพระราชบัญญัติได้ ไม่จำเป็นต้องรอกฎกระทรวง เพราะกฎกระทรวงจะระบุบทบาทหน้าที่หรือแนวปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์ และฝ่ายผู้ป่วยในรายละเอียด ซึ่งท่านสามารถดูร่างกฎกระทรวงได้ที่ www.thailivingwill.in.th

นอกจากนี้ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อยู่ระหว่างการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติสำหรับสำหรับสถานบริการสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ โดยศึกษาจากแนวปฏิบัติในต่างประเทศและแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในปัจจุบัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้

[seed_social]
7 มีนาคม, 2561

เรียนรู้สู่สังคมสูงวัย กับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้าย

อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น และประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุแล้วโดยสมบูรณ์ คาดการณ์ว่าผู้สูงอายุในไทย (อายุ ๖๐ ปีขึ้นไปตามนิยามสากล) ในปี ค.ศ. ๒๐๒๓ (พ.ศ. ๒๕๖๘) จะมีจำนวนร้อยละ ๑๗ และร้อยละ ๒๗ ในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ (พ.ศ. ๒๖๐๓) 
20 กุมภาพันธ์, 2561

ตามรอยซิเซลี

ซิเซลี ซอนเดอร์ส แพทย์หญิงชาวอังกฤษ ผู้บุกเบิกสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสมัยใหม่จนกลายเป็นต้นแบบของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในปัจจุบัน แม้ว่าเธอจะเสียชีวิตไปนานเกือบสิบปีแล้ว แต่การอุทิศตัวเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขและได้ตายดีของเธอ
19 เมษายน, 2561

เกมไพ่ไขชีวิต

ชีวิตและความตาย เป็นหัวข้อสำคัญที่ควรพูดคุยกันในครอบครัวหรือคนใกล้ชิด แต่การสร้างบทสนทนาในเรื่องดังกล่าวมักเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยถึงความตายของคนอื่นๆ ความตายของเพื่อนบ้าน หรือตัวละครในโทรทัศน์ ที่รู้สึกไม่ใช่เรื่องของเรา