งานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองเป็นการดำเนินงานในมิติสุขภาวะด้านกายเป็นส่วนใหญ่และมีการให้ความสำคัญกับมิติด้านจิตใจและสังคมเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้เป็นการจำกัดวงทำงานอยู่เฉพาะบุคลากรสุขภาพ และจิตอาสา ส่วนสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual health) ยังไม่มีการเริ่มดำเนินการ
เครือข่ายพุทธิกาจึงริเริ่มโครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ฯ เมื่อปี พ.ศ.2554 และพบว่า พระสงฆ์เป็นกลไกสำคัญที่สุดในด้านสุขภาวะทางปัญญา เป็นผู้น้อมนำหลักธรรมคำสอนมาใช้เยียวยาและดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้เป็นอย่างดี ส่วนกลไกบุคลากรในโรงพยาบาลและจิตอาสาเป็นสองกลไกที่สำคัญ ที่จะเชื่อมประสานการทำงานร่วมกัน เป็นทีม มีพื้นที่ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ