parallax background
 

สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น
ผ่านมติยุทธศาสตร์ชาติเรื่องการตายดี

ผู้เขียน: กองสาราณียกร) หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

ในงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้มีการพิจารณารายงานเรื่อง แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ โดยที่ประชุมตระหนักว่า การตายดีเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิต การดูแลแบบประคับประคองเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อระบบสุขภาพของประเทศ แต่ในขณะที่สังคมไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ แต่กลับไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีโครงสร้างและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบรองรับ จึงเกิดความกังวลว่า หากขาดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและระบบสังคมที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต จะทำให้การดูแลในระยะท้ายของชีวิตขาดคุณภาพ และเป็นภาระค่าใช้จ่ายของประเทศ

แม้ว่าจะมีสถานบริการ สถาบันการศึกษา องค์กรทางศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก พยายามจัดการดูแลแบบประคับประคองในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการพัฒนารูปแบบการจัดบริการ มีการประชุมวิชาการ จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ประประสบการณ์ผ่านสิ่งพิมพ์และสื่ออื่นจำนวนมาก

แต่การไม่มีนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตอย่างชัดเจนและเพียงพอ จะนำไปสู่ปัญหาที่กังวลข้างต้น ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึงมีมติให้เสนอแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต ๘ ประการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ได้แก่

๑. รับรองแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ ตามเอกสารแนบท้ายมตินี้

๒. ขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๙ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์

๓. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลและการจัดการเพื่อให้แผนขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

๔. ขอให้องค์กรต่างๆ ได้แก่ องค์กรทางศาสนา องค์กรสาธารณะประโยชน์ องค์กรด้านสื่อสารมวลชน องค์กรภาคเอกชน องค์กรวิชาชีพต่างๆ สถาบันการศึกษา และกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติของสรรพสิ่ง สัจธรรมของชีวิต และการเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิตและการตายดี รวมไปถึงการสร้างและการจัดการความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการบริหาร ด้านนโยบาย ด้านการสื่อสาร เป็นต้น

๕. ขอให้องค์กรต่างๆ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทย (กสพท.) เครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย องค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพ สถาบันการศึกษา สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายแห่งประเทศไทย องค์กรทางศาสนา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดทำแนวปฏิบัติด้านวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาบุคคลในระบบการดูแลแบบประคับประคอง

๖. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพื่อการดูแลแบบประคับประคอง

๗. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองทั้งในสถานพยาบาล สถานพยาบาลกึ่งบ้าน และชุมชนด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม

๘. ขอให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น หรือกระบวนการที่เหมาะสม ไม่เกินปี ๒๕๕๙ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้ทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และร่วมกันพัฒนายุทธศาสตร์ฉบับที่ ๒ ต่อไป

[seed_social]
9 พฤษภาคม, 2561

โรงเรียนสัปเหร่อ

ไม่รู้ว่าบ้านเรามีหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ เยอรมนี แดนเบียร์ไส้กรอกอร่อย มีโรงเรียนสัปเหร่อ แห่งเดียวของยุโรป โดยชาวเยอรมันเข้าฝึกหัดการเป็นสัปเหร่อ
20 กุมภาพันธ์, 2561

ลมหายใจ…มีไว้แบ่งปัน

บางสิ่งเลือก ‘หยิบยื่น’ โอกาสให้ผู้อื่นมีพื้นที่หายใจสะดวกสบาย แม้ต้องแลกด้วยลมหายใจสุดท้ายของตนเอง บางสิ่งเลือก ‘เหยียบย่ำ’ ผู้อื่น เพื่อตนเองจะได้มีโอกาสสูดลมหายใจเต็มปอด แม้หมายถึง..การเบียดเบียนชีวิต
8 พฤศจิกายน, 2560

จากตะวันสู่ตะวัน

ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ชาวไทยผูกพันใกล้ชิดกับสายน้ำมาโดยตลอด เพราะแม่น้ำเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญ อีกทั้ง ‘น้ำ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตทั้งในด้านการผลิตและบริโภค