ความงามของการแตกสลาย: มรณานุสติจากมุมมองสุญญตา

เรียบเรียง: ดิเรก ชัยชนะ หมวด: ในชีวิตและความตาย


 

          เมื่อกล่าวถึงมรณานุสติส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นการระลึกถึงความจริงที่ว่า เราต้องตายอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้และความตายอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เมื่อบุคคลได้เจริญมรณานุสติสุกงอมแล้วจะเป็นผู้ที่ไม่วิตกกังวลต่อ ความตายก่อนความตายจริงของชีวิตจะมาเยือน ทั้งสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความหมายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บทความนี้ขยายมุมมองการสัมพันธ์กับชีวิตและความตายข้างต้นจากมุมมองสุญญตา เบื้องต้นกล่าวถึงชีวิตใน ฐานะความเป็นองค์รวม แล้วอธิบายถึงสภาวะรวมศูนย์ของสำนึกความตัวตนที่แปลกแยกจากองค์รวมในฐานะ การตายจากการมีชีวิตแบบหนึ่ง จากมุมมองสุญญตาการเป็นอิสระจากความตายเช่นนี้คือการไม่ขัดขืนต่อต้าน การยอมรับและการเปิดกว้างต่อปรากฏการณ์ต่าง ความเข้าใจและความตระหนักรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ภาวนาเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีชีวิตดี และทัศนคติการสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงเรื่องการสูญเสียและความตาย ทั้งนี้เนื้อหา บทความเรียบเรียง จากคอร์สภาวนา "ความงามของการแตกสลาย:มรณานุสติจากมุมมอง สุญญตา" ของปวีณ นาคเวียง[1] รวมถึง เพิ่มเติมเนื้อหาจากการค้นคว้าเอกสาร

ชีวิตคือองค์รวม

         ตามมุมมองพุทธศาสนามองว่า สิ่งทั้งหลายรวมถึงชีวิตเกิดจากองค์ประกอบต่างๆมารวมเข้ากันและมี ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัย ชีวิตคือความเป็นองค์รวมที่ไม่สามารถแยกเป็นตัวตนอิสระที่ไม่ขึ้นกับสิ่งอื่นๆได้ โดยในทางพุทธศาสนาอธิบายว่า ชีวิตประกอบด้วยร่างกายและจิต ที่รวมอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า ขันธ์ห้า (รูป, เวทนา สัญญา, สังขาร, และวิญญาณ) รูปหมายถึงร่างกายเป็นด้านรูปธรรม ที่ตัวมันเอง มาจากธาตุทั้งสี่ (ดิน, น้ำ, ลม, และไฟ) ส่วนเวทนา (ความรู้สึก) สัญญา (การรับรู้) สังขาร (การคิดปรุงแต่ง) และวิญญาณ​ (จิตสำนึกรู้) เป็น ด้านนามธรรมของชีวิต ชีวิตจึงตั้งอยู่ได้จากการประกอบของรูปธรรมและนามธรรมต่างๆเหล่านี้ ถ้าหากว่าแยก แต่ละส่วนเหล่าออกจากกันชีวิตก็ไม่อาจอยู่ได้ ชีวิตองค์รวมนั่นคือกายและจิตใจเชื่อมโยงกัน

         ในคอร์สภาวนา ปวีณ นาคเวียง ผู้นำภาวนานำผู้ร่วมกิจกรรมสังเกตความเป็นองค์รวมของชีวิตผ่าน การภาวนาสองรูปแบบ แบบแรกคือ การใช้ลมหายใจรับรู้สภาวะอัด--คลายและความรู้สึกภายในกาย วิธีนี้ใช้ ลมหายใจทำความคุ้นเคยกับจังหวะชีวิต ฝึกดูกายที่หายใจอย่างต่อเนื่อง ดูภาวะอัดและคลายของร่างกาย ใช้ท่าที การรับรู้อย่างแผ่วเบาและไว้วางใจ เพื่อสังเกตความเป็นองค์รวมหรือความเชื่อมโยงของกายและใจ แบบที่สอง คือการภาวนากับวัฏจักรของธาตุทั้งสี่ (ดิน, น้ำ, ลม, และไฟ) โดยจินตนาการว่าเมื่อร่างกายตายลง ธาตุดินใน ร่างกายสลายรวมกับธาตุดินในธรมชาติ ธาตุน้ำสลายรวมกับธาตุน้ำ ธาตุลมที่ไหลเวียนในช่องว่างสลายคืน สู่ธาตุลม และธาตุไฟเป็นความอบอุ่นในกายสลายคืนพลังงานสู่ธรรมชาติ เพื่อเห็นวัฏจักรหมุนเวียนของธาตุ ในร่างกายเสื่อมสลายกลับคืนสู่ธาตุในธรรมชาติ กลายเป็นเหตุปัจจัยใหม่ไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งของชีวิตและโลก

การภาวนาผ่านการเคลื่อนกาย

สภาวะรวมศูนย์ของความเป็นตัวตนเป็นภาวะของความตายแบบหนึ่ง

          นอกเหนือจาก ความเป็นองค์รวมของชีวิตที่ประกอบกันของขันธ์ห้า ชีวิตยังสัมพันธ์กับโลกภายนอก ผ่านระบบการรับรู้ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) รวมถึงการแสดงออกของชีวิตผ่านกระทำทางกาย การพูด) และการคิด ถึงจุดนี้มีคำถามว่า สำนึกความเป็นตัวตนที่แยกขาดไม่ขึ้นกับสิ่งใดที่ตัดขาดจากความเป็นองค์รวม ของชีวิตนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? ตามมุมมองพุทธศาสนาอธิบายว่า ในพัฒนาการของขันธ์ห้า เมื่อไรที่มีการรับรู้ รูปเกิดขึ้นจะมีปฏิกริยาความชอบ ความไม่ชอบ และเฉยๆ เกิดขึ้นในชั่ววินาทีนั้น เมื่อเราจำได้หมายรู้ต่อสิ่งที่ เป็น ปฏิกริยาต่อไปคือการให้ชื่อ และตามมาด้วยหลักการที่เป็นเกราะกั้นระหว่างตัวฉันกับวัตถุ ‘นี่’ กับ ‘นั่น’ เราไม่สามารถมองสิ่งต่างอย่างที่เป็นได้ แต่เราหลงไปกับชื่อ การตีความ และหลักการ กล่าวคือ  ความเป็นตัวตนที่แปลกแยกเกิดขึ้นจากอารมณ์และการคิดปรุงแต่งที่เราได้ใส่ให้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

          ในคอร์สภาวนา ปวีณ นาคเวียง ได้นำผู้ร่วมกิจกรรมสำรวจภาวะการรวมศูนย์ของตัวตนโดยเริ่มต้น ชวนคุยเกี่ยวกับคำถามว่า “มีสถานการณ์อะไรบ้างที่ทำให้รู้สึกว่าหัวใจแตกสลายหรือถูกบีบคั้น? สถานการณ์ เหล่านั้นส่งผลอย่างไรต่อร่างกายและเกิดขึ้นตรงตำแหน่งไหนของร่างกาย” พบว่าความบีบคั้นจากเหตุการณ์ การสูญเสียคนในครอบครัว การรับทราบข่าวร้ายเรื่องลูกป่วย การทะเลาะกับเพื่อน การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็น ระยะเวลานานหรือการสูญเสียความมั่นคงในชีวิต เหตุการณ์เหล่านี้นำให้เกิดความเศร้า ความโกรธ  ความกลัว ความวิตกกังวล รวมถึงความคิดที่ไม่ควรคิด ที่สร้างสภาวะไม่ปกติสุขทางกายและใจ

ที่ใดเป็นที่ที่เป็นทุกข์ ที่นั่นลมไม่พัด น้ำไม่ไหล แม่ไม่คลอดลูก ดวงอาทิตย์ขึ้นลงไม่ปกติ       ดวงจันทร์ ขึ้นลงไม่ปกติ เราเรียกที่นั่นว่า ที่ที่มีทุกข์ แต่ที่ใดที่ลมพัด น้ำไหล แม่คลอดลูกเป็นปกติ     ดวงอาทิตย์ขึ้นลง เป็นปกติ ดวงจันทร์ขึ้นลงเป็นปกติ เราเรียกที่นั่นว่า ที่ที่ไม่มีทุกข์

          โศลกข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งไกด์นำที่ ปวีณ นาคเวียง ชวนผู้ภาวนาสังเกตสภาวะอัดและคลายผ่าน การภาวนาในท่านอน พร้อมทั้งอธิบายว่า ภาวะแม่ไม่คลอดลูกคือสภาวะเกร็งไม่คลาย ดวงจันทร์คือความเย็น ดวงอาทิตย์คือความร้อน หากว่าความเย็นและความร้อนไม่สมดุล สร้างความทุกข์กาย เป็นความบีบคั้นมาจาก สภาวะ “อัด” ที่ไม่มีสภาวะ “คลาย” สภาวะเหล่านี้นำความไม่ปกติสุขทางกายและใจที่เรารู้สึกได้ถึงขอบ หรือ สภาวะรวมศูนย์ที่จิตสำนึกเราแยกขาดจากสิ่งรอบตัวอื่นๆ อยากหนีและปฏิเสธสถานการณ์นั้น ตัดขาดการรับรู้ ในปัจจุบันขณะ สภาวะเช่นนี้เป็นเหมือนการจองจำหรือการตายแบบหนึ่งเป็นการตายการความมีชีวิตองค์รวม

การภาวนาในท่านอน

สุญญตาหรือความว่าง     

          สุญญตาหรือความว่าง พุทธทาส[2]ได้อธิบายความว่างในแง่ “ความไม่มีตัวตน” ที่ว่าว่างจากความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวเราหรือว่าเป็นของเรา โดยอธิบายตามหลักอิทัปปัจจยาตาที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่เกิด เมื่อสิ่งนี้ สิ้นไป สิ่งนี้จึงดับไป” เป็นความองค์รวมของสิ่งต่างๆที่อิงอาศัยกัน อีกด้านหนึ่ง เชอเกียม ตรุงปะ[3] อธิบายว่า มุมมองสุญญตาไม่ใช่แค่การตระหนักรู้ในสิ่งที่เราเป็นหรือสัมพันธ์กับวัตถุนั้นอย่างไรเท่านั้น แต่ยัง หมายถึงความชัดแจ้งในการข้ามพ้นหลักการหรือการปรุงแต่งทั้งปวง กล่าวคือ ว่างจากความคิดและอคติแแล้ว ยังว่างจากหลักการเกี่ยวกับความว่างด้วย มุมมองของความว่างจึงนำเราสัมผัสกับประสบการณ์ตรงที่ปราศจาก การคิดล่าวหน้า เปิดกว้างต่อปรากฏการณ์ต่างๆโดยสมบูรณ์        นอกจากนี้ สตีเฟน แบท์ชเลอร์[4] อธิบายว่าสุญญตา หมายถึง “ไม่มีการขัดขืนต่อต้าน” เป็นวิถีที่เราใช้สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเผชิญ ความบีบคั้นที่ทำ ให้ว้าวุ่น กังวล โกรธ ภูมิใจ ไม่ปกติสุข ความบีบคั้นได้กักขังเราไว้และขัดขวางวิถีของชีวิต จากมุมมองของ สุญญตาการเป็นอิสระจากความบีบคั้นไม่ใช่การหนีหรือกดทับ แต่คือการเปิดที่ว่างให้เราเป็นอิสระที่จะปล่อย วางมันได้และมันเป็นอิสระที่จะหายไปได้เช่นกัน ดังนั้นการมีชีวิตดีคือชีวิตที่อิสระไร้สิ่งขวางกั้น เปิดกว้าง อย่างไร้เงื่อนไข และไม่มีความพยายามปกป้องตนเองเลยแม้แต่น้อย

          ในคอร์สภาวนา ปวีณ นาคเวียง ได้อธิบายว่า “สุญญตาไม่ได้หมายถึงไร้หรือไม่มี แต่ความว่างหมายถึง การเปิด การยอมรับ การคลี่ให้เห็นเหตุปัจจัยทั้งหมด แล้วเข้าไปรับรู้” จากนั้นนำภาวนให้ผู้ฝึกสัมผัสถึง ประสบการณ์สุญญตา โดยเข้าไปรับรู้ความว่างในกาย ความว่างที่ช่องท้อง  ความว่างแกนกลางกาย รวมถึงรับรู้ ถึงพื้นที่ว่างรอบๆ รับรู้ถึงภาวะอัดหรือคลายที่เกิดขึ้นในกาย ยอมให้สิ่งต่างๆปรากฏขึ้นและจางหายไป เปิดรับ และรับรู้อาการอย่างแผ่วเบาและต่อเนื่อง เราอาจสัมผัสถึงความแปรเปลี่ยน ความลื่นไหลของภาวะต่างๆที่มีอยู่ ตลอดเวลาหรืออาจเห็นความพยายามของการดึงรั้งและการต่อต้านภายในจิต การเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและ การเปิดรับสิ่งต่างๆได้โดยไม่ขัดขืนนำเรารับรู้ได้ว่าความว่างเป็นเนื้อแท้ของการดำรงอยู่ตามธรรมชาติ  

การทำงานกับ “ขอบ” จากประสบการณ์สุญญาตา

          ในคอร์สภาวนา ปวีณ นาคเวียง อธิบายว่า “สุญญตาถูกทำให้เข้าใจยาก แต่การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ตรงนั่นเราสามารถสัมผัสได้ เพราะในความเป็นจริงแล้วทุกคนมีคุณลักษณะสุญญตาอยู่แล้วในกายในใจเรา” การนำมุมมองสุญญตามาทำงานกับขอบ วิธีหนึ่งในการภาวนาคือ การเข้าไปสัมพันธ์กับเงื่อนไขต่างๆที่ผูกรั้ง ขอบไว้ อีกวิธีหนึ่งคือ การเปิดรับและการยอมรับให้ภาวะรวมศูนย์คลี่คลายเพราะธรรมชาติของใจนั้นไม่มีขอบ เปิดกว้างและว่าง การฝึกปฏิบัติเริ่มจากการนั่งและตระหนักรู้ถึงความว่างที่อุ่นเรื่อๆตรงแกนกลางของร่างกาย นำรู้ตัวทั่วพร้อมสังเกตกายที่ภายในเคลื่อนไหวไม่ได้นิ่ง ใช้ความว่างดูความเคลื่อนไหวในกายเรียกว่า “นิ่งใน ความเคลื่อนไหว” เพื่อดูการแปรเปลี่ยน เมื่อเข้าไปรับรู้เบาๆถึงขอบ สิ่งที่สังเกตได้ง่ายคือธาตุดินที่แข็งอยู่ทื่ออยู่ ไม่ต้องตั้งใจดูแค่รู้สึกถึงขอบพื้นที่นั้น การสลายของขอบเกิดได้ขึ้นเมื่อนำความรู้สึกไปแตะ แล้วเราจะรู้สึกถึง ความร้อนอุ่นๆของธาตุไฟที่เกิดขึ้น แล้วจะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุลมที่ความแน่นคลายลง เราใช้ ความว่างเป็นแกนกลางในการเข้าไปรับรู้ ซึ่งช่วยเราให้เห็นการรับรู้แบบครอบคลุมที่สิ่งต่างๆเชื่อมโยงกันหมด มันเป็นกระแสการรับรู้ เมื่อความตระหนักรู้เราเปิด การเห็นของเราก็ชัดขึ้น และเกิดการเชื่อมจากร่างกายไป สู่กายอีกชั้นหนึ่งที่ลึกลงไป ละเอียดมากขึ้น และความเชื่อมโยงนี้จะเชื่อมกับชีวิตอื่นและสิ่งอื่นๆกว้างออกไป

          นอกจากนี้ ความเข้าใจจากประสบการณ์ตรงนี้ผู้ปฏิบัติได้แลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับการนำมุมมองใหม่นี้ไปใช้ สัมพันธ์กับผู้อื่น และการทำงานในฐานะผู้เยียวยาและผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไร

ความเปิดกว้างเป็นหัวใจของผู้เยียวยา

          จากความตระหนักรู้ถึงความว่างที่เป็นพื้นฐานของชีวิตและการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง การสัมพันธ์กับ ตนเองและผู้อื่นจะอยู่บนพื้นฐานของทัศนคติของความเปิดกว้าง ความไว้วางใจ การเปิดรับ และ การไม่คาดคิด ล่วงหน้าต่อสถานการณ์ต่างๆ หากพิจารณาในฐานะบทบาทของผู้ดูแลและผู้เยียวยากล่าวได้ว่า ผู้เยียวยาเพียง ผ่อนคลายตนเอง ไว้วางใจในตนเอง ไม่คิดวางแผนล่วงหน้า ไม่ใส่ความคิดหรือความคาดหวังของเราไปยัง ผู้ป่วยและสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา หากเกิดภาวะบีบคั้นทางความรู้สึกภายในกายและใจเพียง ตระหนักรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึก ความคิด และความคาดหวังภายในกาย ผ่อนคลายกาย และปล่อยวางไป แล้วกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะกับสถานการณ์นั้นได้อย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นการอยู่กับผู้ป่วยความจริงแล้วคือ การเชื่อมโยงกับความว่างภายในใจตัวเองกับความว่างภายในใจผู้อื่น และความว่างในพื้นที่ห้องผู้ป่วย เมื่อเรา ตระหนักรู้และผ่อนคลายกายและใจได้เท่านั้นที่นำเราอยู่กับความว่างได้โดยไม่มีขอบ ไม่มีความแปลกแยก ระหว่างเรากับผู้ป่วยและพื้นที่นั้น บทบาทของผู้ดูแลหรือผู้เยียวยาจากมุมมองความว่างจึงหมายถึง ว่างจาก ความคิดและความคาดหวัง ความเปิดกว้างและความไว้วางใจในตนเองเป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้เยียวยา

สรุป

          ความงามของการแตกสลาย: มรณานุสติจากมุมมองสุญญตา คือการนำมุมมองสุญญตาหรือความว่าง เพื่อเข้าใจและตระหนักถึงการมีชีวิตดีงามและจริงแท้คือชีวิตที่มีอิสรภาพ และเปิดกว้างอย่างไร้เงื่อนไขต่อทุก ปรากฏการณ์ ส่วนชีวิตที่ตายจากมุมมองนี้คือชีวิตที่ถูกจองจำไว้ด้วยอารมณ์ความรู้สึก ความคิด หรือเรื่องเล่า ที่สร้างขอบหรือสำนึกความเป็นตัวตนที่แปลกแยก และตัดขาดจากความเป็นองค์รวม นอกจากนี้ ความเข้าใจ เรื่องความว่างเป็นทัศนคติพื้นฐานสำคัญของผู้เยียวยาที่จะสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยหัวใจอันเปิดกว้างอย่างแท้จริง ความไว้วางใจในตนเอง รวมถึงการข้ามพ้นความกลัวและอคติต่างๆจากอัตตา


[1] เรียบเรียงจากเนื้อหาคอร์สภาวนา “ความงามของการแตกสลาย มรณานุสติจากมุมมองสุญญตา” กับ ปวีณ นาคเวียง วันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2563 ณ ร้านหนังสือ GREENBOOK Cafe – Space เมืองหาดใหญ่ จังวัดสงขลา

[2] พุทธทาส. ความว่าง. จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-02-01.htm

[3] เชอเกียม ตรุงปะ (2555). ‘สุญญตา’, ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ. มูลนิธิโกมลคีมทอง. หน้า 208

[4] สตีเฟน แบท์ชเลอร์ (2550). “ความว่าง”, อยู่กับมาร. สวนเงินมีมา. กรุงเทพ. หน้า 81-83

[seed_social]

18 เมษายน, 2561

ลมหายใจคลายเครียด

คุณเคยสังเกตไหมคะว่าเวลาที่เผชิญกับปัญหา สิ่งที่ทำให้เราทุกข์และเครียดจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายนั้นส่วนใหญ่มาจากความคิดฟุ้งซ่านของเราเอง
4 เมษายน, 2561

เบาคลายความเจ็บปวด ด้วยนวดสัมผัสแห่งรัก

คนส่วนใหญ่อาจรู้อยู่แล้วว่า การนวดเป็นวิธีการผ่อนคลายร่างกายจากความเมื่อยล้าอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า นอกจากประโยชน์ทางด้านร่างกายแล้ว การนวดยังมีคุณค่าทางใจ
20 เมษายน, 2561

คุณยายคำ

การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และดูแลผู้ด้อยโอกาสเป็นเรื่องยากแต่ก็ดูแล และเธอก็รักงานด้านนี้มาก เพราะถือว่าทำแล้วได้บุญ มีความสุขทั้งผู้รับและผู้ให้