เมื่อแว่น VR
ทำความฝันก่อนตายของผู้ป่วยระยะท้ายให้กลายเป็นจริง
โดย Laurie Fagan
สำนักข่าว CBC News

ผู้เขียน: ปุณยอาภา ศรีคิรินทร์ หมวด: ชุมชนกรุณา


 

ดาร์เรล จอห์นสัน ผู้ป่วยระยะท้ายในแคร์ฟอร์ ฮฮสพิส ในคอร์นวอลล์ รัฐออนโตริโอ (Carefor Hospice in Cornwall, Ont) กำลังสนุกกับการดูแสงเหนือในนอร์เวย์ด้วยแว่นตาเสมือนจริง หรือแว่น VR (vitual reality headsets) (Jean Delisle สำนักข่าว CBC News)

เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดาร์เรล จอห์นสัน (Darrell Johnson) ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมองชนิดไกลโอบลาสโตมา (glioblastoma) โรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วไม่ว่าจะเป็น พอล ดีเวอร์ (Paul Dewar) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคพรรคประชาธิปไตยใหม่ (New Democratic Party, NDP) เขต Ottawa Centre และ กอร์ด ดาวนี่ (Gord Downie) อดีตนักร้องนำร็อกชื่อดังแห่งวง “Tragically Hip” ครั้งแรกที่จอห์นสันได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้าย เขามองมันเป็นเรื่องตลกเนื่องจากเขาทำงานเกี่ยวกับเนื้องอกในสมองในมหาวิทยาลัย แต่ตอนนี้ มันทำให้เขาหัวเราะไม่ออกอีกต่อไป

ดาร์เรล จอห์นสัน ในวัย 59 ปี เขาเป็นพ่อของลูกชายวัยรุ่น 2 คน ที่เคยทุกข์ทรมานจากการผ่าตัดและทำคีโมฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งชนิดรุนแรง หลังจากการรักษา 14 เดือน เขาเผชิญกับภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน และย้ายเข้ามาพักรักษาตัวที่ แคร์ฟอร์ ฮอสพิส ในคอร์นวอลล์ รัฐออนโตริโอ (Carefor in Cornwall, Ont) เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา จอห์นสันไม่สามารถเดินได้อีกต่อไป แม้จะเข้าใจคำถามที่คนถาม แต่เขาสามารถตอบได้เพียงแค่คำว่า “ใช่” แต่เมื่อเขาถูกถามว่าอยากลองผจญภัยโดยใช้แว่นเสมือนจริง หรือแว่น VR (Virtual Reality headsets) ที่ทางฮอสพิสมีไว้ให้หรือไม่ ดวงตาเขากลับเบิกโพลง

ดาร์เรล จอห์นสัน ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมองชนิดไกลโอบลาสโตมาในปี 2018 เขากำลังใช้ แว่น VR เพื่อดูแสงเหนือข้ามผ่านขอบฟ้าในประเทศนอร์เวย์

แว่น VR ทำให้ความฝันที่ต้องทำสักครั้งก่อนตายกลายเป็นจริง

แชนนอน บอล (Shannon Ball) เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานบริการสนับสนุน กล่าวว่า ทางแคร์ฟอร์ ฮอสพิสได้มีแคมเปญระดมทุนเพื่อใช้สำหรับเทคโนโลยีแว่น VR เป็นมูลค่า 5,300 ดอลล่าสหรัฐ โดยขณะนี้ มีจำนวนฮอสพิสที่ซื้อแว่น VR เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการบำบัดผู้ป่วยระยะท้ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับแคร์ฟอร์ ฮอสพิส เริ่มนำแว่นดังกล่าวมาใช้ในเดือนธันวาคม ถึงตอนนี้มีผู้ป่วย 15 คน ทั้งที่อยู่ในฮอสพิสและในชุมชนได้ทดลองใช้แล้ว

“แว่น VR เป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมและช่วยเติมเต็มสิ่งที่พวกเขาฝันว่าจะทำสักครั้งก่อนตายให้เป็นจริงได้ มันทำให้พวกเขามีความหวัง ลดความเบื่อหน่ายและความหดหู่ใจ จากการศึกษาพบว่า จริงๆแล้วมันช่วยให้ลดความเจ็บปวดทางกายได้ด้วย” บอลกล่าว และสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย การใช้แว่น VR ที่ดีที่สุดไม่ควรมีระยะเวลาเกิน 15 นาที เนื่องจากอาจทำให้วิงเวียนศีรษะหรือกล้ามเนื้อคอบาดเจ็บได้

แซนนอน บอล (Shannon Ball) เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานบริการสนับสนุน ของ แคร์ฟอร์ ฮอสพิส ในคอร์นวอลล์ รัฐออนโตริโอ กล่าวว่า การใช้แว่น VR นอกจากสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าแล้ว ยังช่วยลดความเจ็บปวดทางกายได้ด้วย เครื่องมือนี้จึงเป็นกระแสที่กำลังมาแรงที่ใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง (Jean Delisle/ CBC)

ปล่อยให้เขาได้ทำสิ่งที่เคยทำอีกครั้ง

ก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมอง จอห์นสันใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เขาได้รับปริญญาเอกด้านจิตวิทยา ก่อตั้งคลินิกเวชปฏิบัติที่โรงพยาบาลมอนทรีออล นอกเหนือจากงานประจำแล้ว เขายังเป็นนักกีฬาที่ลงแข่งขันงานวิ่งบอสตัส มาราธอนถึง 2 ครั้ง และใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเดินป่าและพายเรือแคนูที่แอลกอนควินพาร์ค เมื่อสำนักช่าวซีบีซีไปเยี่ยมจอห์นสัน เขากำลังเลือกวิดีโอที่มีภาพท้องฟ้ากว้างใหญ่ เต็มไปด้วยแสงสีเขียวและน้ำเงินของแสงเหนือในนอร์เวย์ ตอนที่เขากำลังดูวิดีโอในชุดหูฟังสีดำที่ดูคล้ายหน้ากากดำน้ำอยู่นั้น ในบางขณะ เขาหันศีรษะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ขยับขึ้นๆ ลงๆ และเอื้อมมือออกไปเพื่อสัมผัสกับท้องฟ้าเสมือนจริงที่เต็มไปด้วยสีสันด้วย

ภาพดาร์เรล จอห์นสัน ในปี 2008 ขณะไปแคมป์ปิ้งและพายเรือที่แอลกอนควินพาร์ค แว่น VR ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายด้วยประสบการณ์เหล่านี้อีกครั้ง

“เทคโนโลยีนี้ช่วยให้พ่อหลบหนีจากความเป็นจริง มันทำให้เขากำจัดทุกสิ่งทุกอย่างในความคิดของเขาไปได้บ้าง มันมหัศจรรย์มาก และตอนนี้ แว่น VR ทำให้เขาแยกตัวออกจากห้องนี้ไปได้อย่างสมบูรณ์แล้ว มันช่วยทำให้เขาได้กลับมาทำสิ่งต่างๆที่เขาเคยทำในชีวิตได้อีกครั้ง” เซท (Seth) ลูกชายวัย 18 ปีของเขา กล่าว

หลังจากจอห์นสันดูภาพแสงเหนือเสร็จแล้ว บอลได้ดาวน์โหลดวีดีโอพายเรือคายัคในแอลกอนควินพาร์คให้ ในขณะที่เขาดูวีดีโอใหม่อยู่นั้น เขายกมือขึ้น เลียนแบบท่าทางการกระเพื่อมของน้ำ หลายครั้งเขาแตะหน้าอกตัวเองเบาๆด้วยมือเปิดกว้าง ลูกชายของเขากล่าวว่า ท่าทางแบบนี้เป็นการสื่อสารว่าเขาพึงพอใจกับประสบการณ์ที่เขากำลังได้รับนี้มากแค่ไหน

พฤศจิกายน 2018 ดาร์เรล จอห์นสัน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมองชนิดกลัยโอบลาสโตมา ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดรุนแรง

เสียงร้องแห่งความปิติ

เทคโนโลยีแว่น VR ยังเคยทำให้ให้หญิงสาวคนหนึ่งได้รับประสบการณ์ชนิดที่เธอไม่สามารถทำมันได้มาทั้งชีวิต หญิงสาวคนนี้นั่งบนรถเข็น และเธอได้ขี่ม้า บอลเล่าว่า “ตอนนั้นเธอนั่งอยู่บนอานม้า และมองเห็นม้าอยู่ตรงหน้าเธอจริงๆ มีเสียงร้อง ‘ว้าว’ ออกมานับครั้งไม่ถ้วน มันเป็นเรื่องดีจริงๆที่ฉันได้เห็นผู้คนยิ้มและดูแจ่มใส” พวกเราอยากเริ่มใช้ภาพที่มาจากการบันทึกกิจกรรมในครอบครัวร่วมกับเทคโนโลยีแว่น VR นี้ เช่น พิธีแต่งงาน สำหรับใช้กับสมาชิกในครอบครัวที่ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีได้ “มันดีกว่ารูปถ่าย เพราะคนๆนั้นจะรู้สึกเหมือนพวกเขาอยู่ในงานแต่งงานจริงๆเลย " บอลกล่าวทิ้งท้าย

บุคคลสำคัญ ดาร์เรล จอห์นสัน (Darrell Johnson), พอล ดีเวอร์ (Paul Dewar), กอร์ด ดาวนี่ (Gord Downie), แชนนอน บอล (Shannon Ball), เซท (Seth)
แปลจากบทความ https://www.cbc.ca/news/canada/ottawa/health-virtual-reality-palliative-hospice-health-care-1.5395933?fbclid=IwAR2gxooKEGH2Rj2JddYRets3A9aCuougWXsu7HTmXuggtF7O-MxP3VUxZd0

[seed_social]
25 เมษายน, 2561

เราตายอย่างไร

มีความเข้าใจผิดมาตลอดว่าการแพทย์ การรักษาพยาบาลนั้นสามารถ "ช่วยชีวิต" (life-saving) แท้จริงสิ่งที่ทำได้ คือ การชะลอความตายหรือการยื้อชีวิตได้เท่านั้น เพราะท้ายสุดเราทุกคนต้องตาย
17 มกราคม, 2561

ก้าวข้ามความกลัวมาทัวร์โลกนอกกะลา

เวลาที่เรากลัวอะไร ส่วนใหญ่สิ่งแรกที่มักจะทำคือการหลีกเลี่ยงที่จะเจอกับสิ่งนั้น ซึ่งก็ช่วยให้เรารอดพ้นจากความกลัวมาได้ แต่ใช่หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วความกลัวก็ยังคงนอนนิ่งอยู่ในใจ จนกว่าจะถูกกระตุ้นออกมาอีกครั้ง แต่ยังมีอีกวิธีที่ดีกว่า
20 เมษายน, 2561

วันปีใหม่

ช่วงเวลาของปีใหม่ เป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองของคนส่วนมากทั้งโลก เป็นช่วงเวลาแห่งรอยยิ้ม ความสุขและหยุดพักจากการงาน แต่สำหรับงานรักษาพยาบาลนั้นเรื่องราวของคนไข้และผู้ดูแลนั้นไม่มีคำว่าหยุดพัก